วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553

คำศัพท์ที่เกียวข้องกับไฟฟ้า(บทที่12)

1.สวิตช์(Switch)
...เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอีกชนิดหนึ่ง ถือว่าเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่พบการใช้งานได้บ่อย หน้าที่ของสวิตช์ คือ ใช้ตัดต่อวงจรไฟฟ้าเพื่อให้มีการจ่ายแรงดันเข้าวงจร หรืองดจ่ายแรงดันเข้าวงจร จะมีแรงดันจ่ายเข้าวงจรเมื่อสวิตช์ต่อวงจร (Close Circuit) และไม่มีแรงดันจ่ายเข้าวงจรเมื่อสวิตช์ตัดวงจร (Open Circuit)

2.ต่อวงจร(Close Circuit)
...กระแสไฟฟ้าไหลออกจากแหล่งกำเนิด ผ่านไปตามสายไฟ แล้วผ่านสวิทช์ไฟซี่งแตะกันอยู่ (ภาษาพูดว่าเปิดไฟ) แล้วกระแสไฟฟ้าไหลต่อไปผ่านดวงไฟ แล้วไหลกลับมาที่แหล่งกำเนิดอีกจะเห็นได้ว่ากระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านได้ครบวงจร หลอดไฟจึงติด

3.ตัดวงจร(Open Circuit)
...วงจรเปิด ไฟจะไม่ติดเพราะว่า ไฟออกจากแหล่งกำเนิดก็จะไหลไปตาม สายพอไปถึงสวิทช์ซึ่งเปิดห่างออกจากกัน (ภาษาพูดว่าปิดสวิทช์) ไฟฟ้าก็จะผ่านไปไม่ได้ กระแสไฟฟ้าไม่สามารถจะไหลผ่านให้ครบวงจรได้

4.1ขั้ว1ทาง(SPST->Single-Pole Single-Throw)
...ทำหน้าที่ปิด-เปิดวงจร

5.1ขั้ว2ทาง(SPDT->Single-Pole Double-Throw)
...ทำหน้าที่เปิ-ปิดวงจร ได้ 2 ชุดพร้อมกัน

6.2ขั้ว1ทาง(DPST->Double-Pole Single-Throw)
...ทำหน้าที่เปิด-ปิดวงจร การใช้ขา 2 ขาหรือจะใช้เป็นสวิตช์เลือก 2 ทาง

7.2ขั้ว2ทาง(DPDT->Double-Pole Double-Throw)
...ทำหน้าที่เปิ-ปิดวงจร ได้ 2 ชุดพร้อมกันโดยใช้ขา 4 ขาและสามารถใช้แทนสวิตช์แบบทางเดียว 2 ขั้วได้

8.สวิตช์ก้านยาว(Toggle Switch)
...เป็นสวิตช์ที่เวลาใช้งานต้องโยกก้านสวิตช์ไปมาโดยมีก้านสวิตช์โยกยื่นยาวออกมาจากตัวสวิตช์ การควบคุมตัดต่อสวิตช์ ทำได้โดยโยกก้านสวิตช์ให้ขึ้นบนหรือลงล่าง ในการโยกก้านสวิตช์ขึ้นมักจะเป็นการต่อ (ON) และโยกก้านสวิตช์ลงมักจะเป็นการตัด (OFF)

9.สวิตช์กระดก(Rocker Switch)
...เป็นสวิตช์ที่มีปุ่มกระดกยื่นออกมาจากตัวสวิตช์เล็กน้อย การควบคุมตัดต่อสวิตช์เล็กน้อย การควบคุมตัดต่อสวิตช์ ทำได้โดยกดผลักขึ้นบนหรือล่าง กดผลักด้านบนจะเป็นการต่อ (ON) กดผลักด้านล้างจะเป็นการตัด (OFF)

10.สวิตช์กด(Push Button Switch)
...เป็นสวิตช์ที่เวลาใช้งานต้องกดปุ่มสวิตช์ลงไป การควบคุมตัดต่อสวิตช์ ต้องกดปุ่มที่อยู่ส่วนกลางสวิตช์ กดปุ่มสวิตช์หนึ่งครั้งสวิตช์ต่อ (ON) และเมื่อกดปุ่มสวิตช์อีกหนึ่งครั้งสวิตช์ตัด (OFF) การทำงานเป็นเช่นนี้ตลอดเวลา แต่สวิตช์แบบกดบางแบบอาจเป็นชนิดกดติดปล่อยดับ (Momentary) คือขณะกดปุ่มสวิตช์เป็นการต่อ (ON) เมื่อปล่อยมือออกจากปุ่มสวิตช์เป็นการตัด (OFF) ทันที

11.สวิตช์เลื่อน(Slide Switch)
...เป็นสวิตช์ที่ต้องเลื่อนก้านสวิตช์ไปมา ก้านสวิตช์ยื่นยาวออกมาจากตัวสวิตช์เล็กน้อย การควบคุมตัดต่อสวิตช์ ทำได้โดยผลักเลื่อนสวิตช์ขึ้นบนหรือลงล่าง การเลื่อนสวิตช์ขึ้นบนเป็นการต่อ (ON) การเลื่อนสวิตช์ลงล่างเป็นการตัด (OFF)

12.สวิตช์หมุน(Rotary Switch)
...หรือเรียกว่าสวิตช์แบบเลือกค่า (Selector Switch) เป็นสวิตช์ที่ต้องหมุนก้านสวิตช์ไปโดยรอบเป็นวงกลม สามารถเลือกตำแหน่งการตัดต่อได้หลายตำแหน่ง มีหน้าสัมผัสสวิตช์ให้เลือกต่อมากหลายตำแหน่ง เช่น 2, 3, 4 หรือ 5 ตำแหน่ง เป็นต้น

13.สวิตช์ดิพ(DIP Switch)
...คำว่าดิพ (DIP) มาจากคำเต็มว่าดูอัลอินไลน์แพกเกจ (Dual Inline Package) เป็นสวิตช์ขนาดเล็กใช้งานร่วมกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นในรูปชิพ (Chip) ที่มีขนาดเล็กๆ หรือใช้งานกับไอซี (IC = Integrated Circuit) ลักษณะสวิตช์สามารถตัดหรือต่อวงจรได้ การควบคุมตัดต่อสวิตช์แบบดิพจะต้องใช้ปลายมปากกาหรือปลายดินสอในการปรับเลื่อนสวิตช์ สวิตช์แบบดิพมักถูกติดตั้งบนแผ่นวงจรพิมพ์ (Printed Cricuit Board) ใช้กับกระแสไม่เกิน 30mA ที่แรงดัน 30VDC

14.สวิตช์เลือกค่า(Selector Switch)
...มีใช้มากในงานที่ต้องควบคุมการทำงานด้วยมือ แสดงตัวอย่างของสวิตช์เลือกแบบ 3 ตำแหน่ง และตารางแสดงการทำงานของสวิตช์เลือกเครื่องหมาย X ในตารางแทนด้วยหน้าสัมผัสปิด สวิตช์เลือกมี 3 ตำแหน่งคือ ตำแหน่งหยุด (off) ตำแหน่งมือ (hand ) และ ตำแหน่งออโต (automatic)ในตำแหน่งหยุดหน้าสัมผัสทุกอันจะปิดหมด (ลูกศรชี้) ส่วนในตำแหน่งมือหน้าสัมผัส A1 จะปิด หน้าสัมผัส A2 จะเปิด และในตำแหน่งออโตหน้าสัมผัส A2 จะปิดหน้าสัมผัส A1 จะเปิด

15.ไมโครสวิตช์(Microswitch)
...คือสวิตช์แบบกดชนิดกดติดปล่อยดับนั่นเอง แต่เป็นสวิตช์ที่สามารถใช้แรงจำนวนน้อยๆ กดปุ่มสวิตช์ได ก้านสวิตช์แบบไมโครสวิตช์มีด้วยกันหลายแบบ อาจเป็นปุ่มกดเฉยๆ หรืออาจมีก้านแบบโยกได้มากดปุ่มสวิตช์อีกทีหนึ่ง การควบคุมตัดต่อสวิตช์ ทำได้โดยกดปุ่มสวิตช์หรือกดก้านคันโยกเป็นการต่อ (ON) และเมื่อปล่อยมือออกจากปุ่มหรือก้านคันโยกเป็นการตัด (OFF)

16.รีเลย์(Relay)
... รีเลย์เป็นสวิตช์แม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Swich) ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อหรือเปิดวงจรการทำงานจะดึงหน้าสัมผัสเข้าหาหรือให้หนีออกจากอีกข้างหนึ่ง ดังแสดงในรูปแสดงสัญลักษณ์และรูปลักษณะของรีเลย์ โดยในรูป (ก) แสดงรีเลย์แบบปกติเปิด (Normally Open Relay, NO) ส่วนรูป (ข) เป็นรีเลย์แบบปกติปิด (Normally Closed Relay, NC)

17.กลไก(Mechanical)
...

18.สวิตช์หน้าสัมผัส(Contact Switch)
...เพราะใช้ IC Timer 555(ไอซีนิยมใช้กันมาก) โดยมันเป็นวงจรง่ายๆ เมื่อpin 2 ของ IC 555 ต่อกับแผ่นโลหะ แล้วท่านแตะโดนแผ่นโลหะนั้น ก็จะทำให้ LED สว่างนานประมาณ 1 วินาที โดยวงจรนี้ จะใช้งานได้ดีในบ้าน ซึ่งไม่ถูกรบกวนจากสัญญาณวิทยุอื่นๆ ก็นับว่าเป็นวงจรที่น่าสนุกดี หรือ ท่านจะประยุกต์ใช้เป็นวงจรกันขโมยก็ได้

19.ปกติเปิด (NO->Normal Open)
...คือสวิทช์ขาปกติวงจรเปิด (ปกติกระแสไฟไม่เดิน)

20.ปกติปิด(NC->Normal Close)
...คือสวิทช์ขาปกติวงจรปิด (ปกติกระแสไฟเดิน)

21.ไมโครโฟน(Microphone)
...ไมโครโฟนเป็นอุปกรณ์ที่สร้างจากขดลวดเคลื่อนที่ โดยการทำงานจะอาศัยการเหนี่ยวนำของแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Induction) เพื่อที่จะเปลี่ยนคลื่นเสียงไปเป็นคลื่นสัญญาณไฟฟ้า จากที่ทราบว่าเสียงที่เราได้ยินนั้นเกิดจากการเคลื่อนที่ของคลื่นความดันผ่านอากาศ ซึ่งการที่จะให้เกิดคลื่นความดันในลักษณะเช่นนี้ สามารถทำได้โดยใช้เส้นเชือกที่ขึงให้ตึง ผิวเนื้อเยื่อแผ่นบางๆ หรืออาจเป็นกล่องเสียงในลำคอของมนุษย์ และทำให้สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้เกิดการสั่นซึ่งจะส่งผลให้เกิดการอัดหรือขยายของโมเลกุลอากาศ ดังแสดงในรูป เป็นตัวอย่างของการทำให้เส้นเชือกที่ถูกขึงให้ตึงเกิดการสั่นกลับไปกลับมา ผลของการสั่นจะทำให้เกิดย่านความดันอากาศสูงสุด

22.เฮิร์ต(Hertz)
...หน่วยของความถี่

23.ไดนามิกไมโครโฟน(Dynamic Microphone)
...เป็นไมโครโฟนที่ใช้กันทั่วไปในงานระบบเสียงปัจจุบันนี้ มีลักษณะการทำงานกลับกับการทำงานของลำโพง เมื่อมีเสียงมากระทบที่ไดอะแฟรม (Diaphragm) ทำให้เกิดการสั่นและเคลื่อนไหวเข้าออกของมูฟวิ่งคอยล์ที่พันอยู่รอบๆ กรวยไดอะแฟรมจึงเกิดการตัดกันของสนามแม่เหล็ก และเกิดการเหนี่ยวนำกลายเป็นกระแสไฟฟ้าขนาดเล็กส่งออกมาตามขดลวด ขนาดความแรงของสัญญาณไฟฟ้าและทิศทางขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวของขดลวดไดนามิกไมโครโฟนมีความแข็งแรงทนทานสูง ราคาไม่แพงและเป็นที่นิยมใช้ทั่วไป ด้วยเหตุผลนี้เองทำให้มีการใช้ไดนามิกไมโครโฟนกันมากในระบบเสียงงานเวที หรือในงานระบบเสียงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางพลังงานอคูสติกสูงและบ่อยครั้ง ไดนามิกไมโครโฟนยังมีความคงทนต่อองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่นอุณหภูมิ และสภาพแสงแดดได้อย่างดี

24.คอนเดนเซอร์ไมโครโฟน(Condencer Microphone)
...คอนเดนเซอร์ไมโครโฟน ต้องมีไฟเลี้ยงจ่ายให้อยู่ตลอดเวลาที่มีการใช้งานซึ่งอยู่ระหว่าง 9-48 โวลท์ที่มาจากแบตเตอรี่ที่บรรจุเข้าไปในตัวไมโครโฟน หรือจาก มิกเซอร์โดยผ่านทางสายไมโครโฟน หลัการทำงานคือเมื่อมีการเคลื่อนไหวเข้าใกล้และห่างออกจากกันระหว่างไดอะแฟรมกับแบคเพรท (Back plate) โดยแบคเพรทจะอยู่กับที่และส่วนที่เป็นไดอะแฟรมจะเคลื่อนไหวตามเสียงที่เข้ามา จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางคุณสมบัติทางประจุไฟฟ้าและทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นซึ่งมีขนาดเล็กมาก ซึ่งจะถูกนำไปขยายโดยภาคขยายเล็กๆ ซึ่งซ่อนอยู่เพื่อขยายสัญญาณและเพื่อแยกค่าอิมพีเด้นของไมโครโฟนออกจากค่าอิมพีเด้นที่ต่ำที่ตัวไมโครโฟนต่ออยู่คอนเดนเซอร์ ไมโครโฟนมีคุณสมบัติทางเสียงที่ดีเหมือนธรรมชาติ ใช้กับงานที่ต้องการการตอบสนองทาง Transient เช่น เครื่องดนตรีที่เป็นพวก Percussion และนิยมใช้กันมากในห้องบันทึกเสียง และงานทั่วไป ความทนทานจะสู้ไดนามิกไมโครโฟนไม่ได้ ไวต่อการเสียหายเมือมีการกระแทกของเสียง การกระทบกระเทือนอย่างแรง และสภาพแวดล้อม เช่นความชื้น ราคาจะสูงกว่าไดนามิกไมโครโฟน

25.ลำโพง(Loundspeaker)
...ลำโพงเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณแรงดันไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณเสียง เช่น เสียงพูด เสียงดนตรี ให้เราได้ยินผ่านทางวิทยุ หรือโทรทัศน์ เป็นต้น ลำโพงโดยทั่วไปจะเป็นแบบแม่เหล็กถาวร นั่นคือ การทำงานจะอาศัยหลักการของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ลำโพงที่พบกันโดยทั่วไปจะถูกสร้างจากแม่เหล็กถาวรทำงานร่วมกับแม่เหล็กไฟฟ้า ดังแสดงในรูป (ก) โดยที่บริเวณฐานของตัวลำโพงจะประกอบไปด้วยไดอะแฟรมซึ่งมีลักษณะคล้ายกับแผ่นกระดาษบางๆ ยึดติดอยู่กับกระบอกลวงและมีขดลวดพันอยู่รอบๆ ซึ่งจะใช้เป็นตัวสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าให้เกิดขึ้น ซึ่งการจัดลักษณะแบบนี้เป็นการให้ขั้วแม่เหล็กถาวรขั้วหนึ่งปรากฏอยู่ภายในกระบอกกลวงที่มีขดลวดพันอยู่รอบๆ นี้ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดในทิศทางหนึ่ง จะทำให้เกิดแรงปฏิกิริยาต่อกันระหว่างสนามแม่เหล็กของแม่เหล็กถาวร กับสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากการไหลของกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวด ส่งผลให้ตัวกระบอกเคลื่อนที่ไปทางด้านขวา ดังแสดงในรูป (ข) แต่ถ้าในกรณีที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดในทิศทางตรงกันข้ามกับตอนแรกก็จะมีผลให้ตัวกระบอกเคลื่อนที่ไปทางด้านซ้าย ดังแสดงในรูป (ค) การเคลื่อนที่ของกระบอกกลวงที่ถูกพันด้วยขดลวดนี้จะทำให้ไดอะแฟรมซึ่งสามารถยืดหดได้เกิดการเคลื่อนที่เข้าออก โดยทิศทางของการเคลื่อนที่จะขึ้นอยู่กับทิศทางของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเข้าไปในขดลวด สำหรับปริมาณของกระแสไฟฟ้านั้นจะเป็นตัวกำหนดความเข้ม ของสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้น ซึ่งก็หมายถึงการควบคุมการเคลื่อนที่ของไดอะแฟรมนั่นเอง

26.ลำโพงฮอร์น(Horn Speaker)
...เป็นลำโพงที่มีขนาดใหญ่ใช้ในการกระจายเสียงทั่วไป มีโครงสร้างเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหน้าเรียกว่า ฮอร์น(Horn) มีลักษณะเป็นกรวยโลหะปากกว้าง หรือเรียกกันทั่วๆไปว่า ดอกลำโพง ส่วนหลังเรียกว่า ไดรเวอร์ยูนิต(Driver Unit) เป็นส่วนที่ประกอบด้วยแม่เหล็กถาวร และขดลวดเสียง ซึ่งพันอยู่บนแผ่นไดอะเฟรม มีขนาดอิมพิแดนซ์ 8 โอห์ม และ 16 โอห์ม ลำโพงฮอร์นให้เสียงในระดับปานกลางแต่สามารถไปได้ไกล จึงเหมาะสำหรับการติดตั้งนอกสถานที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น