วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

1.ไฟฟ้าดูด(Electric Shock)
...ไฟฟ้าดูดนั้นเป็นเรื่องที่อันตรายมาก กากรถูกไฟฟ้าดูดมีโอกาสเสียชีวิตสูงถ้าแก้ไขไม่ทันคนส่วนมากจะถูกไฟฟ้าดูดก็เพราะขาดความระมัดระวังหรืประมาทและอาจจะเกิดจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ
เมื่อถูกไฟฟ้าดูดสักครู่จะเกิดอาการช็อก ซึ่งความรุนแรงเมื่อถูกกระแสไฟฟ้าดูดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น แรงดันและกำลัง ชนิดของกระแสไฟฟ้า และตำแหน่งที่เข้าร่างกาย นอกจากนี้สิ่งแวดล้อมที่เปียกชื้น เช่น ฝนตกตัวเปียก ความชื้นของเหงื่อ หรือยืนในน้ำ เป็นต้น จะทำให้อาการช็อกเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น

2.ไฟฟ้า(Electricity)
...ไฟฟ้า ความร้อน และแสงสว่าง คือพลังงาน (energy) ในรูปแบบต่างๆกัน สิ่งมีชีวิตทั้งหลายต้องการพลังงานทั้งสิ้น พลังงาน สามารถกักเก็บ และปลดปล่อยออกมา เพื่อใช้ประโยชน์ต่างๆกัน ในโรงไฟฟ้า เชื้อเพลิง(fuel) จะถูกเผาไหม้ เพื่อปล่อยพลังงานออกมา และนำไปผลิต เป็นกระแสไฟฟ้า พลังงานสามารถเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได ้ เมื่อเราเปิดสวิตซ์ไฟกระแสไฟฟ้าจะวิ่งมาที่หลอดทำให้เกิดแสงสว่าง นั่นคือ พลังงานสามารถแปรสภาพไปเป็นความร้อน และแสงสว่างได้

3.พลังงานไฟฟ้า(Electrical Energy)
...พลังงานไฟฟ้า เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวนำใดๆ หมายความว่า ขณะนั้น มีประจุไฟฟ้าจำนวนหนึ่ง เคลื่อนที่ผ่านตัวนำนั้นๆ ไปเป็นกระแสต่อเนื่อง การที่ประจุไฟฟ้า จะเคลื่อนที่เป็นกระแสต่อเนื่องไปได้นั้น จะต้องมีพลังงานจากแหล่งอื่น เช่น จากแบตเตอรี่ จากไดนาโม เป็นต้น มาทำให้ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ไป พลังงานที่เกิดขึ้นจากแหล่งอื่นนั้น อาจจะเป็นพลังงานเคมี พลังงานกล พลังงานความร้อน หรือพลังงานแสงก็ตาม ซึ่งแล้วแต่ว่า แหล่งกำเนิดพลังงานนั้นเป็นอะไร พลังงานเหล่านี้ จะแปรเปลี่ยนสภาพ ไปเป็นพลังงานไฟฟ้า พลังงาน ไฟฟ้าที่สิ้นเปลือง ในการเคลื่อนประจุหนึ่งหน่วยประจุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง คือ ความต่างศักย์ทางไฟฟ้าระหว่างจุดทั้งสองนั่นเอง ดังนั้น ความต่างศักย์ไฟฟ้าจึงหมายถึง ค่าของพลังงานไฟฟ้า ที่สิ้นเปลืองในการเคลื่อนหนึ่งหน่วยประจุ ระหว่างจุดคู่ใดๆ เช่น ความต่างศักย์ไฟฟ้า ระหว่างจุดคู่หนึ่งเท่ากับ V โวลต์ (จูล/คูลอมบ์) หมายความว่า ในการเคลื่อนประจุ 1 คูลอมบ์ ระหว่างจุดคู่นั้น ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า V จูล ถ้ามีประจุ ไฟฟ้าเคลื่อนที่ระหว่างจุดคู่นั้นทั้งหมด Q คูลอมบ์ ดังนั้น พลังงานไฟฟ้าทั้งหมดที่ต้อง สิ้นเปลือง คือ QV จูล

4.ภาระหรือโหลด(Load)
...คืออุปกรณ์หรือตัวต่อกับวงจรไฟฟ้าและแสดงผล (จุดตกคร่อมของกระแสไฟฟ้า)

5.เครื่องมือ(Tool)
... -1. ไขควงหรือสกรูไดร เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการขันตัวสกรูแบบต่าง ๆ ซึ่งต้องใช้ด้ามที่เป็นฉนวน โดยมีด้วยกัน 2 แบบ คือ

1.1 ไขควงปากแบน ใช้ขันสกรูที่มีลักษณะของร่องหัวสกรูตามแนวขวาง
1.2 ไขควงสี่แฉก ใช้ขันสกรูที่มีลักษณะของร่องหัวสกรูเป็นรูปสี่แฉก
-2. คีม เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับในการจับ ยึด ตัด ดัดงอสายไฟ ซึ่งต้องมีด้ามที่เป็นฉนวนหุ้มกันกระแสไฟฟ้าดูด โดยมีอยู่ด้วยกันหลาย ๆขนาด เพื่อความเหมาะสมในการใช้งาน ดังนี้
2.1 คีมตัด ใช้ในการตัดสายไฟขนาดต่าง ๆ
2.2 คีมจับ ใช้ในการจับสายไฟ ดัดสายไฟต่าง ๆ
2.3 คีมจับและคีมตัดอยู่ในตัวเดียวกันสองแบบจะมีด้วยกันหลายขนาดขึ้นอยู่กับขนาดของหัวสกรูว่าเล็กใหญ่ขนาดไหน ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม
-3. ค้อน เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตอกตะปูในการเดินสายไฟฟ้า ซึ่งต้องเป็นค้อนหน้าแข็งที่ทำด้วยเหล็ก เช่น หัวค้อนเหลี่ยมสันขวาง ซึ่งมีด้วยกันหลายขนาดตามน้ำหนักของหัวค้อน ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงาน
-4. สว่าน เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานเครื่องเจาะรูขนาดต่าง ๆ ตามต้องการ ซึ่งจะต้องประกอบด้วยดอกสว่าน
4.1 สว่านมือ เช่น สว่านเฟือง หรือ สว่านจาน พวกนี้ใช้ในการเจาะติดแป้นสวิตซ์ไฟฟ้าหรืองานยึดสกูร
4.2 สว่านไฟฟ้า เป็นสว่านที่กำลังนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งต้องอาศัยไฟฟ้าเป็นส่วนประกอบ ในการใส่ดอกสว่านนั้นจะต้องอาศัยดอกจำปาในการเปลี่ยนดอกสว่าน
-5. เลื่อยมือ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตัดวัสดุชนิดต่าง ๆ หรือใช้บางชิ้นงาน มีด้วยกันดังนี้
5.1. เลื่อยที่ใช้งานไม้ เช่นเลื่อยรอปากไม้ เลื่อนลันดา
5.2. เลื่อยที่ใช้ในงานโลหะ เช่น เลื่อยตัดเหล็กชนิดด้ามปืน
- 6. สิ่ว เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานไม้ในการเซาะร่องต่าง ๆ เพื่อให้สายไฟฟ้ารอดผ่านได้
-7. เครื่องมือวัดระยะ หมายถึงการใช้วัดความยาวขนาดต่าง ๆ ว่ามีระยะมากน้อยเท่าไร เช่น ตลับเมตร ทำด้วยโลหะ วัดความยาวได้ 2 ระบบ คือ ระบบนิ้วและระบบเซนติเมตร
- 8. เต้า ใช้ในการตีเส้นตรงในแนวนอนหรือแนวดิ่งในการเดินสายไฟฟ้า
- 9. โอห์มมิเตอร์ เป็นเครื่องมือในการตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้าว่ายังใช้งานได้ดีหรือไม่
- 10. มีด ใช้ในการปอกฉนวนสายไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ เพื่อจะใช้ไฟต่อกับอุปกรณ์ไฟฟ้า
-11. เข็มขัดรัดสายไฟ ในการเดินสายไฟทั่วไปตามพนังบ้านเราต้องใช้เข็มขัดรัดสายไฟช่วยในการเดิน ซึ่งมีขนาดต่าง ๆ กันตามความต้องการและต้องใช้คู่กับตะปู

6.ความปลอดภัย(Safety)
... สายไฟฟ้า

สายไฟฟ้าที่ใช้ภายในอาคาร จะต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ไฟฟ้าต้องใช้ชนิดของสายไฟฟ้าให้ถูกต้อง ไม่นำสายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้านไปใช้ภายนอกบ้าน เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ไม่สามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมภายนอกได้ดี จะเกิดชำรุดเสียหายและเกิดอันตรายได้ง่ายในการเดินสายไฟหรือลากสายไฟไปใช้งานภายนอกอาคารเป็นการชั่วคราวหรือถาวร นอกจากอุปกรณ์ไฟฟ้าและสายไฟฟ้าต้องมีเครื่องตัดไฟรั่วด้วยจึงจะปลอดภัยหัดสังเกตสี กลิ่น และอุณหภูมิของสายไฟและอุปกรณืไฟฟ้าว่ามีการปกติหรือไม่ เช่นสายไฟหรือปลั๊กร้อนแสดงว่าขั้วต่อหลวม หรือมีการใช้ไฟเกินกำลังห้ามยื่นแขนหรือวัสดุออกนอกหน้าต่างเข้าใกล้บริเวณที่มีสายไฟฟ้าแรงสูงผ่านรวมทั้งห้ามฉีด ราด หรือเทน้ำใดๆ เข้าใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง
-หลอดไฟฟ้า
ควรเลือกซื้ออุปกรณ์ที่มีมาตรฐานรับรองส่วนประกอบที่เป็นพลาสติก เช่นขาหลอดต้องเป็นชนิดที่ติดไฟได้ยาก ขณะเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าจะต้องตรวจที่ขาหลอด หากขาหลอดถ่างออก เมื่อใส่หลอดแล้วหลวมหรือเมื่อตรวจพบว่ามีรอยไหม้ จะต้องซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ทันที
-สวิตซ์ไฟฟ้า
ห้ามเปิด-ปิด สวิตซ์ไฟฟ้าในบริเวณที่มีสารระเหยที่ไวไฟ เช่น น้ำมันเชื้อเพลิงหรือทินเนอร์ผสมสี สวิตซ์และเต้ารับ
ควรติดตั้งเต้ารับชนิดมีขั้วสายดิน เช่น เต้ารับแบบเป็นหลุมไว้ภายในบ้านเพื่อใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีจุดต่อสายดินหรือมีเครื่องหมายกำกับอย ู่และควรติดตั้งสวิตซ์และเต้ารับในตำแหน่งที่ปลอดภัย เช่น สูงพ้นมือเด็กเล็ก หรือห่างจากสภาพที่อาจเกิดอันตรายหรือน้ำท่วมถึงได้ และวงจรไฟฟ้าที่มีน้ำท่วมถึงควรแยกออกต่างหากให้สามารถปลดออกได้ทันที
-เมนสวิตซ์หรือคัตเอาท์
ขณะที่ปลดเมนสวิตซ์หรือคัตเอาท์เพื่อซ่อมแซมให้เขียนป้ายเตือนว่า "ห้ามสับไฟ ช่างไฟฟ้ากำลังทำงาน" แขวนไว้ที่เมนสวิตซ์ทุกครั้ง
-เตารีดไฟฟ้า
ก่อนที่จะเสียบปลั๊กไฟฟ้า ควรคลี่สายเต้าเสียบ(ปลั๊ก) ให้ตรงดีก่อนเพราะถ้าสายบิดเป็นเกลียวหรือขดงอ ในขณะที่ลากถูสายไปมา สายจะบีบรัดตัวเอง ทำให้เปลือกสายแตกชำรุดได้ง่ายสายทองแดงจะทะลุออกมาเป็นอันตรายได้
-โทรทัศน์
ควรติดตั้งเสาอากาศให้มั่นคงแข็งแรงและห่างจากแนวสายไฟแรงสูงกะระยะว่าหากเสาอากาศล้มหรือหักลงมาจะต้องไม่ถูกกับสายไฟฟ้าแรงสูง
-ตู้เย็น ตู้แช่
ควรจะต่อสายที่โครงโลหะกลับไปที่แผงสวิตซ์แล้วต่อลงดิน โดยผ่านเต้าเสียบ-เต้ารับที่มีขั้วสายดิน หลอดไฟภายในตู้เย็นตู้แช่ที่ขาดและยังไม่ได้เปลี่ยนไม่ควรเอาหลอดออกเหลือแต่กระจุ๊บไฟว่างเปล่า เพราะจะเป็นอันตรายได้ หากนิ้วมือไปสัมผัสส่วนของกระจุ๊บไฟที่มีไฟฟ้าไหลอยู่
-เครื่องซักผ้า
เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอยู่กับน้ำเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นเต้าเสียบ-เต้ารับ ควรเป็นชนิดที่มีขั้วสายดินและจุดต่อลงดินควรต่อลงดินที่แผงสวิตซ์เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน และถ้าเครื่องเปียกน้ำควรเช็ดให้แห้งก่อนใช้งาน
-โคมไฟสนาม
สายไฟฟ้าที่ใช้จะต้องเป็นสายสำหรับเดินภายนอกอาคารและต้องหมั่นดูแลตรวจสอบสภาพเปลือกสายให้ดีอยู่เสมอ ตัวเสาโคมควรต่อสายกลับไปที่แผงสวิตซ์แล้วต่อลงดิน เพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลลงดิน เมื่อมีการรั่วเกิดขึ้นเพราะเด็ก ๆ อาจจะไปสัมผัสทำให้ได้รับอันตรายได้
-ห้องน้ำ
ไม่ควรติดตั้งสวิตซ์ เต้ารับไว้ภายในห้องน้ำหรือนำอุปกรณ์ไฟฟ้าไปใช้ภายในห้องน้ำ ยกเว้นหลอดแสงสว่างที่ติดตั้งไว้กับเพดานสูงที่ผู้ใช้ไม่สามารถสัมผัสได้โดยง่าย หลอดไฟฟ้าในห้องน้ำก่อนจะเปลี่ยน ปลดสวิตซ์ตัดตอนออกก่อนทุกครั้ง
-ฝนตก-ฟ้าคะนอง
ในขณะที่มีฝนตก - ฟ้าคะนอง พยายามหลีกเลี่ยงจากการยืนใต้ต้นไม้ใกล้เสาไฟฟ้าหรืออยู่ในแนวสายไฟฟ้าแรงสูง
-ตัวเปียกชื้นแฉะอย่าแตะอุปกรณ์ไฟฟ้า
เมื่อร่างกายเปียกชื้น กระแสไฟฟ้าย่อมไหลผ่านร่างกายได้สะดวก ดังนั้นหากร่างกายเปียกชื้น ห้ามแตะอุปกรณ์ไฟฟ้า มิฉะนั้นอาจถูกกระแสไฟฟ้าดูดเป็นอันตรายได้
-การเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำไว้ไม่เรียบร้อยย่อมมีอันตราย เช่น การขันสกรูข้อต่อ สายไม่แน่น ใช้ตัวต่อสายและติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน เมื่อใช้เป็นระยะเวลานานจุดต่อนั้นจะหลวม ทำให้เกิดประกายไฟที่จุดต่อนั้นและเกิดไฟไหม้ได้
-ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าให้ถูกวิธี
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้า ห้ามใช้เต้าเสียบที่มีสภาพชำรุด และต้องไม่ใช้ปลายสายเปลือยเสียบในเต้ารับ หรือไม่ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นอิเลคโทรนิคส์ ควรเว้นช่องว่างให้มีการระบายอากาศได้สะดวก
-หลีกเลี่ยงการเล่นว่าวใกล้สายไฟฟ้า

ไม่ใช้ไม้หรือโลหะใด ๆ ไปเขี่ยว่าวที่ติดอยู่กับสายหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ใช้สายป่านที่เป็นโลหะอันเป็นสื่อไฟฟ้าแทนสายป่านชักว่าวไม่ใช้ป่านคมชักว่าว เพราะป่านคมจะบาดสายไฟฟ้าทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้เล่นว่าวได้
-อย่าทำลายระบบไฟฟ้าในที่สาธารณะ
อย่าเข้าใกล้สิ่งสาธารณะที่มีไฟฟ้าบริเวณที่มีน้ำท่วมถึงเป็นอันขาดอย่าจับต้องสายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่เห็นว่าอยู่ในสภาพที่ไม่ปลอดภัย เช่น ฝาปิดกล่องฟิวส์ที่โคนเสาไฟฟ้าสาธารณะระบบสายดิน แผงสวิตซ์ท่อร้อยสายไฟฟ้า และหลอดไฟฟ้า เป็นต้น
-อุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุด รีบแก้ไข
หมั่นสำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านทุกอย่าง หากพบว่ามีการชำรุดเสียหาย ต้องรีบซ่อมแซมแก้ไขหรือเปลี่ยนใหม่
-อย่าเสียบเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายเครื่องจากเต้ารับอันเดียว
การใช้เต้ารับตัวเดียวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายอย่างนั้น ไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง เนื่องจากสายไฟฟ้าที่ต่อลงเต้ารับและตัวเต้ารับเอง จะรับกระแสมากจนเกินพิกัด ทำให้เต้ารับมีความร้อนสูงจนเกิดลุกไหม้ได้ หากต้องการใช้ไฟฟ้าในคราวเดียวกันหลาย ๆ อย่าง ควรจะแยกเสียบเต้ารับจะมีความปลอดภัยมากกว่า
-อย่าติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าต่ำเกินไป
*ไม่ควรติดตั้งเต้ารับไว้ในระดับต่ำเกินไปซึ่งอาจเกิดอันตรายได้ เมื่อมีน้ำท่วม หรือเด็กอาจใช้นิ้ว ลวดหรือวัสดุอื่นแหย่เล่นเข้าไปในรูเต้ารับ ทำให้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดได้
* หากมีความจำเป็นจะต้องตั้งเต้ารับไว้ในระดับต่ำ ต้องป้องกันไม่ให้น้ำท่วมถึงหรือไม่ให้เด็กเล่นเต้ารับได้
-หลีกเลี่ยงการซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้าโดยไม่มีความรู้
เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านชำรุด หากท่านไม่มีความรู้ความชำนาญในเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น อย่าทำการแก้ไขเองโดยเด็ดขาด และหากเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุดขณะกำลังทำงานอยู่ ให้รับถอดเต้าเสียบออกทันที และแจ้งช่างที่เกี่ยวข้องมาทำการแก้ไข
-สายไฟฟ้าเปื่อยขาดชำรุดจงรีบแก้ไข
หากพบว่าสายไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด เช่น ฉนวนเปื่อย หรือถลอกจนเห็นสายทองแดง ต้องรีบทำการเปลี่ยนใหม่ทันที โดยผู้มีความรู้ในเรื่องไฟฟ้า แต่หากจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์นั้น ควรใช้เทปพันสายไฟฟ้า พันฉนวนส่วนที่ชำรุดไว้ก่อน หากพิจารณาแล้วเห็นว่า ถ้าใช้ต่อไปอาจเกิดอันตรายขึ้นได้ให้หยุดใช้แล้วเปลี่ยนใหม่ -เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ความร้อน
เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ความร้อนที่ใช้กันอยู่เป็นประจำภายในบ้าน เช่น กาต้มน้ำ, เตารีด, กระทะไฟฟ้า, เตาไฟฟ้า เป็นต้น อาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้เมื่อท่านใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ดังนั้นขณะใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าดังกล่าวควรดูแลใกล้ชิดและอย่าใช้ใกล้กับสารไวไฟ เมื่อใช้งานเสร็จแล้วให้ถอดเต้าเสียบเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นออกทันที
-สายไฟขาด อย่าเข้าใกล้
เมื่อท่านพบสายไฟฟ้าขาดห้อยลงมา หรือขาดตกอยู่บนพื้น อย่าเข้าไปแตะต้องเป็นอันขาด เพราะสายไฟที่ขาดนั้นอาจจะมีกระแสไฟฟ้าอยู่ และห้ามผู้อื่นเข้าใกล้ด้วย ควรรีบแจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่อยู่ใกล้ทราบโดยเร็ว
- ติดตั้งเสาวิทยุ ทีวีใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง ไม่ปลอดภัยให้หลีกเลี่ยง
ติดตั้งเสาวิทยุ ทีวีใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง ไม่ปลอดภัยให้หลีกเลี่ยง เมื่อท่านต้องการติดตั้งเสาวิทยุ ทีวี หอกระจายข่าว ควรสำรวจพื้นที่จุดที่จะทำการติดตั้ง ว่ามีสายไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่านหรือไม่ ถ้ามีควรหลีกเลี่ยง เพราะหากติดตั้งแล้วเกิดล้มไปแตะกับสายไฟฟ้าแรงสูง จะทำให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน หากมีความจำเป็นต้องติดตั้งดังกล่าว ควรแจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเพื่อครอบฉนวนที่สายไฟฟ้าก่อนการติดตั้ง

7.อุปกรณ์ไฟฟ้า(Electrical Device)
...อุปกรณ์ที่ใช้ในวจรไฟฟ้า ได้แก่ สายไฟ ฟิวส์ สะพานไฟ สวิตซ์ เต้ารับ ( ปลั๊กตัวผู้ ) เต้าเสียบ ( ปลั๊กตัวเมีย )

8.สายไฟ(Wire)
...สายไฟฟ้าที่ใช้ในงานไฟฟ้าสามารถแบ่งออกได้หลายประเภทตามลักษณะการใช้งาน ซึ่งในทางเทคนิคมีชื่อเรียกกันดังนี้ 1. Wire หมายถึงเส้นลวดที่ใช้เป็นสายตัวนำไฟฟ้า 2. Cord หมายถึงสายไฟฟ้าที่มีขนาดเล็ก มีฉนวนแบบอ่อนตัวที่สามารถบิดงอได้ง่าย 3. Cable หมายถึงสายไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่มีฉนวนป้องกันไฟฟ้ารั่วไหลได้อย่างมั่นคงปลอดภัย ใช้ฝังใต้ดิน ทอดข้ามแม่น้ำ หรือเป็นสายเปลือยแขวนลอย

9.อันตราย(Dangerous)
...เนื่องจากไฟฟ้าแรงสูงมีแรงดันไฟฟ้าที่สูงมาก เมื่อเทียบกับไฟฟ้าแรงต่ำที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้านทั่วไป (220 โวลต์) ไฟฟ้าแรงสูงจึงสามารถที่จะกระโดดข้ามอากาศ หรือฉนวนไฟฟ้าเข้าหาวัตถุ หรือสิ่งที่มีชีวิตได้โดยไม่ต้องสัมผัส หรือแตะสายไฟ หากวัตถุนั้นอยู่ภายในระยะที่อันตรายที่ไฟฟ้าแรงสูงนั้นสามารถกระโดดข้ามได้ ระยะอันตรายนี้จะขึ้นอยู่กับระดับแรงดันไฟฟ้าโดยแรงดันยิ่งสูงระยะที่ไฟฟ้าสามารถกระโดดข้ามได้ก็จะยิ่งไกลไฟฟ้าแรงสูงจึงมีอันตรายมาก สถิติผู้ได้รับอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูงในเขตบริการของการไฟฟ้านครหลวงนั้นมีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บและทุพพลภาพประมาณปีละเกือบ 100 คน

10.กฎความปลอดภัย(Safety Rule)
...-ตระหนักรู้ถึงอันตราย

-การบำรุงรักษาและการซ่อม
-การปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า
-วิธีการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยสำหรับพนักงานที่ไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสม

11.ผู้ประสบอันตราย(Victim's)
...ผู้ที่จะช่วยเหลือผู้ที่ประสบอันตรายจากไฟฟ้าต้องรู้จักวิธีที่ถูกต้องในการช่วยเหลือดังนี้
1.อย่าใช้มือเปล่าแตะต้องตัวผู้ที่ติดอยู่กับกระแสไฟฟ้า หรือตัวนำที่เป็นต้นเหตุให้เกิดอันตรายเป็นอันขาด เพื่อป้องกันมิให้ถูกกระแสไฟฟ้าจนได้รับอันตรายไปด้วยอีกผู้หนึ่ง
2.รีบหาทางตัดกระแสไฟฟ้าโดยฉับไว จะด้วยการถอดปลั๊กหรืออ้าสวิตซ์ออกก็ได้
3.ใช้วัตถุทไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เช่น ผ้า ไม้แห้ง เชือกที่แห้ง สายยาง หรือพลาสติกที่แห้งสนิท ถุงมือยาง หรือผ้าแห้งพันมือให้หนา แล้วถึงผลักหรือฉุดตัวผู้ประสบอันตรายให้หลุดออกมาโดยเร็ว เขี่ยสายไฟให้หลุดออกจากตัวผู้ประสบอันตราย
4.หากเป็นสายไฟฟ้าแรงสูงให้พยายามหลีกเหลี่ยง แล้วรีบแจ้งการไฟฟ้านครหลวงให้เร็วที่สุด (ดูข้อควรระวังจากสายไฟฟ้าแรงสูงขาด)
5.อย่าลงไปในน้ำกรณีที่มีกระแสไฟฟ้าอยู่ในบริเวณที่มีน้ำขัง ต้องหาทางเขี่ยสายไฟฟ้าออกให้พ้นหรือตัดกระแสไฟฟ้าก่อน จึงค่อยไปช่วยผู้ประสบอันตราย การช่วยผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้าดังที่กล่าวมาแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกระทำด้วยความรวดเร็ว รอบคอบ และระมัดระวังเป็นพิเศษด้วย

12.ความสำคัญ(Importance)
...ไฟฟ้าเป็นพลังงานชนิดหนึ่ง ที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง นอกจากจะให้แสงสว่างเวลาค่ำคืนแล้ว ยังให้ความร้อนในการหุงต้มและรีดผ้า ใช้ในการหมุนมอเตอร์เช่น เครื่องดูดฝุ่น เครื่องปั่น และเครื่องทำความเย็น ไฟฟ้าจึงมีความสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของคนเรา
และยังมีพลังงานทดแทนด้วยค่ะ โดยทั่วไปหมายถึงพลังงานที่มีอยู่ทั่วไปตามธรรมชาติและสามารถมีทดแทนได้อย่างไม่จำกัด (เมื่อเทียบกับพลังงานหลักในปัจจุบัน เช่น น้ำมันหรือถ่านหินซึ่งมีเฉพาะที่ และรวมถึงต้นทุนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ในการสำรวจและขุดเจาะแหล่งน้ำมันใหม่ๆ) ตัวอย่าง พลังงานทดแทนที่สำคัญเช่นแสงอาทิตย์
ลม คลื่นทะเล กระแสน้ำ ความร้อนจากใต้ผิวโลก หลังงานจากกระบวกการชีวภาพเช่นบ่อก๊าซชีวภาพ

13.คำแนะนำความปลอดภัย(Safety Tip)
...-ควรเลือกซื้ออุปกรณ์ที่มีคุณภาพ
-ตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนใช้งานทุกครั้ง
-ควรตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ



14.วงจร(Circuit)
...หมายถึง วงจรที่นำเอา
ไดโอด, ทรานซิสเตอร์, ตัวต้านทาน, ตัวเก็บประจุ และองค์ประกอบวงจรต่าง ๆ มาประกอบรวมกันบนแผ่นวงจรขนาดเล็ก ในปัจจุบันแผ่นวงจรนี้จะทำด้วยแผ่นซิลิคอน บางทีอาจเรียก ชิป (Chip) และสร้างองค์ประกอบวงจรต่าง ๆ ฝังอยู่บนแผ่นผลึกนี้ ส่วนใหญ่เป็นชนิดที่เรียกว่า Monolithic การสร้างองค์ประกอบวงจรบนผิวผลึกนี้ จะใช้กรรมวิธีทางด้านการถ่ายภาพอย่างละเอียด ผสมกับขบวนการทางเคมีทำให้ลายวงจรมีความละเอียดสูงมาก สามารถบรรจุองค์ประกอบวงจรได้จำนวนมาก ภายในไอซี จะมีส่วนของลอจิกมากมาย ในบรรดาวงจรเบ็ดเสร็จที่ซับซ้อนสูง เช่น ไมโครโปรเซสเซอร์ ซึ่งใช่ทำงานควบคุม คอมพิวเตอร์ จนถึงโทรศัพท์มือถือ แม้กระทั่งเตาอบไมโครเวฟแบบดิจิทัล สำหรับชิปหน่วยความจำ (RAM) เป็นอีกประเภทหนึ่งของวงจรเบ็ดเสร็จ ที่มีความสำคัญมากในยุคปัจจุบัน

15.วงจรไฟฟ้า(Electrical Circuit)
... วงจรไฟฟ้า เป็นการนำเอาสายไฟฟ้าหรือตัวนำไฟฟ้าที่เป็นเส้นทางเดินให้กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านต่อถึงกันได้นั้นเราเรียกว่า วงจรไฟฟ้า การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนที่อยู่ภายในวงจรจะเริ่มจากแหล่งจ่ายไฟไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า ดังการแสดงการต่อวงจรไฟฟ้าเบื้องต้นโดยการต่อแบตเตอรี่ต่อเข้ากับหลอดไฟ หลอดไฟฟ้าสว่างได้เพราะว่ากระแสไฟฟ้าสามารถไหลได้ตลอดทั้งวงจรไฟฟ้าและเมื่อหลอดไฟฟ้าดับก็เพราะว่ากระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลได้ตลอดทั้งวงจร เนื่องจากสวิตซ์เปิดวงจรไฟฟ้าอยู่นั่นเอง

16.วงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม(Series Electrical Circuit)
... จรอนุกรมหมายถึง การนำเอาอุปกรณ์ทางไฟฟ้ามาต่อกันในลักษณะที่ปลายด้านหนึ่งของอุปกรณ์ตัวที่ 1 ต่อเข้ากับอุปกรณ์ตัวที่ 2 จากนั้นนำปลายที่เหลือของอุปกรณ์ตัวที่ 2 ไปต่อกับอุปกรณ์ตัวที่ 3 และจะต่อลักษณะนี้ไปเรื่อยๆ ซึ่งการต่อแบบนี้จะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลไปในทิศทางเดียวกระแสไฟฟ้าภายในวงจรอนุกรมจะมีค่าเท่ากันทุกๆจุด ค่าความต้านทานรวมของวงจรอนุกรมนั้นคือการนำเอาค่าความต้านทานทั้งหมดนำมารวมกันส่วนแรงดันไฟฟ้าในวงจรอนุกรมนั้นแรงดันจะปรากฎคร่อมตัวต้านทานทุกตัวที่จะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านซึ่งแรงดันไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะมีค่าไม่เท่ากันโดยสามารถคำนวนหาได้จากกฎของโอห์ม

17.วงจรไฟฟ้าแบบขนาน(Parallel Electrical Circuit)
... วงจรที่เกิดจากการต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปให้ขนานกับแหล่งจ่ายไฟมีผลทำให้ค่าของแรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละตัวมีค่าเท่ากัน ส่วนทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้าจะมีตั้งแต่ 2 ทิศทางขึ้นไปตามลักษณะของสาขาของวงจรส่วนค่าความต้านทานรวมภายในวงจรขนานจะมีค่าเท่ากับผลรวมของส่วนกลับของค่าความต้านทานทุกตัวรวมกัน ซึ่งค่าความต้านทานรวมภายในวงจรไฟฟ้าแบบขนานจะมีค่าน้อยกว่าค่าความต้านทานภายในสาขาที่มีค่าน้อยที่สุดเสมอ และค่าแรงดันที่ตกคร่อมความต้านทานไฟฟ้าแต่ละตัวจะมีค่าเท่ากับแรงเคลื่อนของแหล่งจ่าย

18.วงจรไฟฟ้าแบบผสม(Series-Parallel Electrical Circuit)
...เป็นวงจรที่นำเอาวิธีการต่อแบบอนุกรม และวิธีการต่อแบบขนานมารวมให้เป็นวงจรเดียวกัน
ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะของการต่อได้ 2 ลักษณะดังนี้
3.1 วงจรผสมแบบอนุกรม-ขนาน เป็นการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดไปต่อกันอย่างอนุกรมก่อน แล้วจึงนำไปต่อกันแบบขนานอีกครั้งหนึ่ง
3.2 วงจรผสมแบบขนาน-อนุกรม เป็นการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดไปต่อกันอย่างขนานก่อน แล้วจึงนำไปต่อกันแบบอนุกรมอีกครั้งหนึ่ง

19.เซลล์ไฟฟ้า(Electric cells)
...เซลล์ไฟฟ้า
เซลล์ บางครั้งเรียกว่า แบตเตอรี่แห้ง แต่คนทั่วไปเรียกว่า ถ่านไฟฉาย เซลล์เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนแปลงพลังงานเคมีให้เป็นพลังงานไฟฟ้า เซลล์แบ่งออกเป็น เซลล์เปียก หรือ โวลตาอิดเซลล์ และ เซลล์แห้ง ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

20.เซลล์แบบอนุกรม(Series cells)
...เป็นการนำเซลล์ไฟฟ้ามาต่อเรียงแถวเดียว โดยนำเอาขั้วบวกต่อกับขั้วลบ และขั้วลบต่อกับขั้วบวก

21.เซลล์แบบขนาน(Parallel cells)
...เป็นการต่อเซลล์ไฟฟ้า โดยนำเอาปลายขั้วบวกมาต่อรวมกันที่จุดๆหนึ่ง และปลายขั้วลบมาต่อรวมกันที่อีกจุดๆหนึ่ง

22.เซลล์แบบผสม(Series-Parallel cells)
...เป็นการต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรมและขนานรวมกันโดยเซลล์แต่ละแถวต่อแบบอนุกรมกัน และทุกแถวนำมาต่อแบบขนาน ในกานต่อเซลล์แบบนี้ จำนวนเซลล์ในแต่ละแถวต้องมีค่าเท่ากัน

23.หลอดไฟฟ้ามีไส้(Incandescent Lamp)
... โครงสร้างภายในประกอบด้วยไส้หลอดที่ทำมาจากทังสเตน, ก้านยึดใส้หลอด, ลวดนำกระแส , แผ่นฉนวนหักเหความร้อน,ฟิวส์,ท่อดูดอากาศ และขั้วหลอดแก้วจะบรรจุก๊าซเฉี่อย เช่น อาร์กอน หรือไนโตรเจน เพื่อไม่ให้หลอดที่ร้อยขณะป้อนกระแสไฟฟ้าไหลผ่านทำให้เกิดการเผาไหม้ไส้หลอดอาจจะขาดได้

24.หลอดฟลูออเรสเซนต์(Fluorescent Lamp)
...หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าหลอดนีออน เป็นหลอดที่ให้ความสว่าง เป็นสีขาวนวล มีความร้อนเกิดขึ้นน้อย ใช้สำหรับแสงสว่างในอาคารทั่วๆไป
มีตั้งแต่ขนาด 10-80วัตต์ ขนาดที่นิยมใช้ทั่วๆไปจะเป็น20และ40วัตต์ ลักษณะของหลอดจะเป็นแท่งกลมยาว สีขาว บางประเภทจะมีการใส่สารบางชนิดให้เกิดสีสันใช้สำหรับการประดับตกแต่งต่างๆเพื่อความสวยงาม

25.บัลลาสต์(Ballast)
...เป็นขดลวดทองแดงอาบน้ำยา พันอยู่บนแกนเหล็ก ทำหน้าที่ลดแรงดันไฟฟ้าให้มีค่าที่เหมาะสมกับขนาดของหลอดแต่ละขนาด

26.สตาร์ตเตอร์(Starter)
...ทำหน้าที่เป็นสวิตช์ต่อวงจรไฟฟฟ้าในครั้งแรก ที่ขั้วไฟฟ้า 2 ขั้ว ทำด้วยแผ่ยไบเมตัลลิค ซึ่งจะโก่งงอติดกันเมื่อได้รับความร้อน และจากกันเมื่อเย็นตัวลง

27.ฟิวส์(Fuse)
...ฟิวส์ (Fuse) เป็นตัวนำไฟฟ้าที่เป็นโลหะชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยเส้นลวดที่ทำมาจากวัสดุที่มีจุดหลอมละลายต่ำบรรจุอยู่ภายในภาชนะห่อหุ้ม เป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสกระแสเกินและป้องกันการลัดวงจร ฟิวส์จะมีคุณสมบัติที่ตัดกระแสลัดวงจรได้ถึงพิกัดสูงสุด และมีคุณสมบัติสามารถจำกัดกระแสไหลผ่านฟิวส์ต่ำกว่าค่ากระแสลัดวงจรที่ขึ้นสูงสุด ฟิวส์สามารถแบ่งออกได้หลายประเภท


28.สวิตช์ใบมีดหรือคัตเอาต์(Cut Out)
...สำหรับคัตเอาต์เมื่อกะแสไฟฟ้ามากเกินไปหรือเกิดลัดวงจรฟิวส์จะขาด

29.ฟิวส์ปลั๊ก(Plug Fuse)
... ฟิวส์ปลั๊ก (Plug Fuse) มีรูปร่างคล้ายจุกก๊อกทรงกระบอก ปลายด้านหนึ่งใหญ่กว่าปลายอีกด้านหนึ่ง หลอดฟิวส์ทำด้วยกระเบื้อง ภายในหลอดฟิวส์มีเส้นฟิวส์และทรายบรรจุอยู่ เวลาใช้ฟิวส์ต้องใส่ลงในตลับฟิวส์ และหมุนฝาครอบฟิวส์ปิดฟิวส์ให้แน่น ที่ฝาครอบฟิวส์มีช่องสำหรับดูสภาพของฟิวส์ ถ้าเส้นฟิวส์ขาด ปุ่มบอกสภาพฟิวส์จะหลุดออกจากหลอดฟิส์ สามารถมองเห็นได้ ฟิวส์ปลั๊กนิยมใช้ทั้งในวงจรไฟแสงสว่าง และวงจรที่ใช้กำลังไฟฟ้าสูงๆ ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนฟิวส์ทำได้ง่าย มีความปลอดภัยในขณะเปลี่ยนฟิวส์ และขณะฟิวส์หลอมละลายจะไม่มีการกระเด็นของเศษฟิวส์จึงไม่เกิดอันตราย

30.ฟิวส์หลอดหรือคาร์ทริดจ์ฟิวส์(Cartridge Fuse)
...จะมีการทำงานเหมือนกับปลั๊กฟิวส์คืออาศัยหลักของการหลอมละลาย เน่องจากความร้อนเช่นเดียวกับชนิดอื่น ปกติแล้วคาร์ตริดฟิวส์จะติดตั้งอยู่ในกล่องสายที่มีฝาปิดมิดชิด ซึ่งจะแตกต่างกับปลั๊กฟิวส์ที่จะต้องติดตั้งบนฐานเกลียว

31.สวิตช์ประธาน(Main Switch)
...สวิตช์ประธาน (Main switch) เป็นสวิตช์ตัดตอนชนิดหนึ่ง มีโครงสร้างคล้ายกับสวิตช์ตัดตอนใบมีด แต่มีขนาดใหญ่กว่าและมีรูปร่างที่แตกต่างไป รูปร่างภายนอกมีลักษณะเป็นตู้โลหะ แข็งแรง ป้องกันการระเบิดเนื่องจากฟิวส์ภายในได้ดี ขณะต่อสวิตช์เข้าวงจรเพื่อจ่ายไฟฟ้าไปใช้งาน ฝาตู้สวิตช์ประธานจะไม่สามารถเปิดออกได้ และถ้าขณะที่ฝาตู้สวิตช์ประธานเปิดอยู่จะไม่สามารถต่อสวิตช์เข้าวงจรเพื่อจ่ายไฟฟ้าไปใช้งานได้ ช่วยป้องกันอันตรายและช่วยให้เกิดความปลอดภัย การใช้สวิตช์ประธาน้องใช้ควบคู่ไปกับฟิวส์แบบฟิวส์หลอด ทั้งชนิดชนิดทรงกระบอกและชนิดใบมีด นิยมใช้งานกันมากมายในบ้านขนาดใหญ่ ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลาง ในโรงเรียน ตลอดจนในอาพาร์ตเมนท์ต่างๆ

32.สวิตช์ตัดวงจรอัตโนมัติ(Circuit Breaker)
... ในระบบการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านส่วนใหญ่แล้ว มักจะนิยมใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์ในการป้องกันความเสียหายอันเกิดจากกระแสไฟฟ้า ข้อดีของเซอร์กิตเบรกเกอร์ คือ สามารถเปิดวงจรไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน โดยไม่ทำให้อุปกรณ์ภายในคัวเซอร์กิตเบรกเกอร์เสียหาย ดังเช่นการขาดของฟิวส์ นอกจากนั้นยังสามารถทำการรีเซ็ต ใหกลับมาใช้งานได้อีก อาจกล่าวได้ว่าเซอร์กิตเบรกเกอร์ คือ ฟิวส์ที่สามารถนำกลับมาใช้งานได้ใหม่อีกนั่นเอง

33.สวิตช์ตัดวงจรอัตโนมัติโดยอาศัยความร้อน(thermal Circuit Breaker )
... การทำงานของเซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดนี้ จะอาศัยการขยายตัวของความร้อนอันเนื่องจากกระแสไฟฟ้าดังแสดงในรูปจะแสดงโครงสร้างของเซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดที่ทำงานโดยอาศัยความร้อน ซึ่งแผ่นโลหะผสมที่ใช้นี้เกิดจากการนำแผ่นทองเหลือง และแผ่นเหล็กมาประกบกันโดยกระแสไฟฟ้าจะไหลเข้าขั้ว A จากนั้นจะไหลเข้าทางขวาของแผ่นโลหะผสมชนิดนี้ แล้วไหลออกไปทางด้านซ้ายผ่านต่อไปยังตอนบนของหน้าสัมผัสซึ่งประกบติดกับหน้าสัมผัสตอนล่าง สุดท้ายก็ไหลออกจากเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ขั้ว B ถ้ากระแสไฟฟ้าไหลเข้ามานี้มีปริมาณมากกว่าอัตราทนกระแสของเซอร์กิตเบรกเกอร์ ก็จะเกิดความร้อนขึ้นที่บริเวณแผ่นโลหะผสมนี้ ซึ่งคุณสมบัติของโลหะทุกประเภทเมื่อได้รับความร้อนก็จะเกิดการขยายตัว โลหะบางชนิดก็จะขยายตัวเร็วบางชนิดขยายตัวได้ช้า ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ สัมประสิทธิ์ของการขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน ของโลหะชนิดนั้นๆ ในกรณีนี้ทองเหลืองจะขยายตัวได้ดีกว่าเหล็ก ส่งผลให้แผ่นโลหะผสมนี้เกิดการโค้งตัวไปทางขวา ทำให้กระเดื่องที่สัมผัสกับโลหะนี้ถูกปลดออกและถูกดึงให้กระดกขึ้นตามสปริงที่คอยรั้งคานที่เชื่อมกระเดื่องไว้ การยกตัวของคานทางซ้ายนี้ ทำให้หน้าสัมผัสด้านบนและด้านล่างแยกออกจากกัน จึงเป็นการตัดเส้นทางเดินของกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นการป้องกันวงจรไฟฟ้าจากการได้รับกระแสไฟฟ้าในปริมาณที่มากเกินไป การรีเซตจะเป็นการทำให้หน้าสัมผัสที่แยกออกจากกันกลับมาประกบชิดกันอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตามถ้าปัญหากระแสไฟฟ้าไหลเกินยังไม่ได้รับการแก้ไขก็จะทำให้หน่าสัมผัสแยกออกจากกันอยู่

34.โลหะสองชนิดประกบติดกัน(Bimetal)
...โลหะสองแผ่นนำมาประกบติดกัน และใช้ความร้อนกำหนดการขยายตัวที่ด้านในด้านหนึ่งในการงอแผ่นโลหะ ใช้ทำสวิตซ์ความร้อนหรือสตาร์ทเตอร์
มีโลหะสองชนิดประกบติดกัน เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไป วัสดุทั้งสองจะยืดหดตัวไม่เท่ากัน ก็เกิดการโก่งตัวขึ้น แบบอิเลคโทรนิค เป็นการวัดอุณหภูมิด้วยวิธีไฟฟ้า คือ ใช้คุณสมบัติที่ว่า เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไป ความต้านทานจะเปลี่ยนไปด้วย ข้อแตกต่างที่ขัดเจนในการทำงานก็คือ แบบอิเลคโทรนิค วัดอุณหภูมิได้แม่นยำกว่า จึงตัดต่อคอมเพรสเซอร์ได้แม่นยำกว่าด้วย

35.สวิตช์หน้าสัมผัส(Contact Switch)
...นี่เป็นวงจรสวิตช์สัมผัสง่ายๆ อีกวงจร ใช้ไอซีดิจิตอลเป็นอุปกรณ์สำคัญ และใช้ไฟเลี้ยงต่ำเพียง 9V โดยใช้แผ่นโลหะอันเดียว มันทำงานในลักษณะเปิด และ ปิดได้ โดยเมื่อสัมผัสครั้งแรกจะเปิด แต่พอครั้งที่สองจะปิด วงจรประกอบด้วยไอซี CD4001 รับสัญญาณไฟฟ้าจากนิ้วมือ แปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อผ่าน IC CD4020 เป็นวงจรนับสอง หรือ วงจรหารสอง

36.สวิตช์ตัดวงจรอัตโนมัติโดยอาศัยสนามแม่เหล็ก(Magnetic Circuit Breaker )
... เซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดที่ทำงานโดยอาศัยสนามแม่เหล็ก เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดที่พันรอบแกนมีปริมาณน้อย ส่งผลทำให้เกิดสนามแม่เหล็กในปริมาณที่น้อยเช่นกันที่จะกระทำบนคานเหล็กโดยที่จะดึงกระเดื่องให้เคลื่อนไปทางซ้าย อย่างไรก็ตามแรงดึงที่เกิดจากสนามแม่เหล็กนี้ก็ยังไม่สามารถเอาชนะแรงดึงไปทางขวาที่เกิดจากสปริงที่คอยรั้งคานเอาไว้ ดังนั้นกระแสไฟฟ้าที่ไหลจึงยังคงไหลได้ตามปกติ นั่นคือ จากขั้ว A ไหลเข้าไปยังขดลวดผ่านไปยังด้านบนของหน้าสัมผัส จากนั้นจึงไหลออกจากเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ขั้ว B ถ้ากระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้าไปมีปริมาณเกินกว่าอัตราทนกระแสของเซอร์กิตเบรกเกอร์กระแสไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นมากขึ้นนี้ ก็จะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดมีปริมาณมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้มีสนามแม่เหล็กที่กระทำบนแกนเหล็กทางแนวตั้งนี้มากขึ้น และแกนเหล็กทางด้านบนจะถูกดึงไปทางด้านซ้ายมือ ส่วนทางด้านล่างที่เป็นกระเดื่องก็จะกระดกไปทางขวาตามจุดหมุนของแกนการปลดกระเดื่องที่เกี่ยวอยู่กับคานทางแนวนอนจะส่งผลให้สปริง B ที่คอยดึงคานทางด้านขวาให้กระดกลงซึ่งทำหน้าที่แยกออกจากกัน ปุ่มรีเซตมีไว้สำหรับทำให้หน้าสัมผัสกลับมาประกบชิดกันอีกครั้ง เช่นเดียวกับเซอร์กิตเบรกเกอร์ชนิดที่ทำงานโดยอาศัยความร้อน และถ้าปัญหาเรื่องกระแสไฟฟ้าไหลมากเกินไปก็ยังคงอยู่ก็จะทำให้การแยกกันของหน้าสัมผัสเกิดขึ้นได้อีก

37.สนามแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnet)
...สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก (Electric and Magnetic Field: EMFs) จะหมายถึงเส้นสมมุติที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงอาณาเขตและความเข้มของเส้นแรงที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุที่มีความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้า (เรียกว่า สนามไฟฟ้า) และที่เกิดขึ้นโดยรอบวัตถุที่มีกระแสไฟฟ้าไหล (เรียกว่า สนามแม่เหล็ก) ในกรณีกล่าวถึงทั้ง สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กพร้อมกันมักจะเรียกรวมว่า สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Field: EMF)หรือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

38.หม้อแปลงไฟฟ้า(Transformer)
...เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแปลงพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับจากวงจรหนึ่งไปยังอีกวงจรหนึ่งโดยวิธีทางวงจรแม่เหล็กซึ่งไม่มีจุดต่อไฟฟ้าถึงกันและไม่มีชิ้นส่วนทางกลเคลื่อนที่ โดยทั่วไปเราใช้หม้อแปลงไฟฟ้าเพื่อแปลงแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้มีขนาดลดลงหรือเพิ่มขึ้นจากเดิมโดยมีความถี่ไฟฟ้าคงเดิม

39.หม้อแปลงปรับศักย์ไฟฟ้า(Potential Transformer)
...หม้อแปลงไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์สำหรับแปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับให้มีแรงดันเพิ่มขึ้นหรือลดลง หรือในบางกรณีใช้ในการแยกการต่อถึงกันทางไฟฟ้า โดยมีอัตราการแปลงแรงดันเป็น 1:1 โครงสร้างของหม้อแปลงแสดงดังรูปที่ 1 ในรูปขดลวด H1 – H2 เป็นขดลวดปฐมภูมิ (Primary) หรือขดลวดด้านรับไฟ ส่วนขดลวด X1 – X2 เป็นขดลวดทุติยภูมิ (Secondary) หรือขดลวดด้านจ่ายไฟ เครื่องหมายจุด (•) ที่แสดงไว้ข้าง ๆ ขดลวดทั้งสอง แสดงว่า ปลายขดลวดด้านนั้นมีศักย์ไฟฟ้าเป็นบวกหรือลบพร้อม ๆ กัน

40.อุปกรณ์ป้องกันไฟสูงผิดปกติ(Lightning Arrester)
...Transient (แรงดันสูงชั่วขณะ) และ Surge (ไฟเกิน) เป็นสภาวะที่แรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าสูงขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งเกิดขึ้นในวงจรไฟฟ้า โดยมีค่าแรงดันไฟฟ้าสูงกว่า 2,000 โวลต์และกระแสไฟฟ้าสูงกว่า 100 แอมแปร์ เกิดขึ้นในระยะเวลาประมาณ 1-10 ไมโครวินาที Transient และ Surge จัดว่าเป็นปัญหาทางไฟฟ้าที่มักเกิดขึ้นอยู่เสมอ และผลกระทบจากปัญหาทางไฟฟ้าเหล่านี้สร้างความเสียหายได้อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ชำรุดเสียหาย, ระบบหยุดทำงาน, ทำให้สูญเสียข้อมูล, เวลา ตลอดจนโอกาสทางธุรกิจ เป็นต้น

41.หลักต่อสายดิน(Ground Rod)
... เป็นการต่อตัวนำระหว่างวงจรไฟฟ้ากับดิน เพื่อป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่วโดยมีสาเหตุมาจากการชำรุด หรือการเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาโดยที่ไม่สามารถทราบล่วงหน้าได้ เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายแก่ผู้ที่ใช้อาจจะเข้าไปสัมผัสและถูกกระแสไฟฟ้าดูด โดยกระแสไฟฟ้าที่รั่วจะไหลลงดินแทนการไหลผ่านร่างกายของผุ้ที่เข้าไปสัมผัส ซึ่งการต่อลงดินจะมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ การต่อลงดินที่ระบบสายส่งไฟฟ้าและการต่อลงดินที่ตัวอุปกรณ์

42.สายศูนย์(Neutral Wire)
... ระบบไฟฟ้า 1 เฟส คือระบบไฟฟ้าที่มีสายไฟฟ้าจำนวน 2 เส้น เส้นที่มีไฟเรียกว่าสายไฟหรือสายเฟส หรือสายไลน์ เขียนแทนด้วยตัวอักษร L (Line) เส้นที่ไม่มีไฟเรียกว่าสายนิวทรอล หรือสายศูนย์ เขียนแทนด้วยตัวอักษร N (Neutral) ทดสอบได้โดยใช้ไขควงวัดไฟ เมื่อใช้ไขควงวัดไฟแตะสายเฟส หรือสายไฟ หรือสายไลน์ หลอดไฟเรืองแสงที่อยู่ภายไขควงจะติด สำหรับสายนิวทรอล หรือสายศูนย์ จะไม่ติด แรงดันไฟฟ้าที่ใช้มีขนาด 220 โวลท์ (Volt) ใช้สำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไปที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่มากนัก

43.มิลลิแอมแปร์(mA) (Milliampere)
...mA=milliampกระแสไฟฟ้าหน่วยเป็นมิลลิเเอมแปร์๑มิลลิแอมเท่ากับ0.001Ampareเช่นแบตเตอรี่ขนาดAAสามารถจ่ายกระแสได้๒๐๐๐มิลลิแอมหรือ๒แอมแปร์mAh=milliamp-hourกระแสไฟมิลลิแอมนาน๑ชั่วโมงมันคือความจุของแบตเตอรี่ครับเช่นแบตเตอรี่2000mAhขนาดAAสามารจ่ายกระแสได้๒๐๐๐มิลลิแอมได้นานถึง๑ชั่วโมงหรือ๒๐๐มิลลิแอมได้นาน๑๐ชั่วโมงเป็นต้นwatt= power=กำลังไฟฟ้าเป็นวัตติ์เท่ากับกระแสคูณกับแรงดันเช่นแบตเตอรี่AAจำนวน๑ก้อนแรงดัน1.2Vกระแสไหล๒๐๐๐มิลลิแอมpower=1.2*2000=2400มิลลิวัตติ์=2.4wattเป็นต้น

44.ELCB(Earth Leakage Cirruit Breaker)
...เบรกเกอร์ELCBหรือชื่อเต็มๆคือEARTH LEAKAGE CIRCUIT BREAKER และชื่อที่เรียกอีกหลายชื่อ ไม่ว่าจะเป็น เบรกเกอร์กันดูดหรือELB เนื่องจากช่วงนี้มีหลายท่านหลังไมค์มาถามผม ถึงเรื่องของELCBผมเลยขอหยิบยกเรื่องELCBมาเขียนเป็นบทความเพื่อให้หลายๆท่านที่ยังไม่ทราบหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับELCBได้ทราบกัน และเลือกใช้ELCBเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทอุปกรณ์ป้องกันไฟดูด มีหน้าที่ตรวจจับกระแสไฟรั่วลงดิน หน้าตาของเจ้าELCBจะคล้ายคลึงกันกับเซฟตี้เบรกเกอร์ต่างกันที่ว่าELCBจะมีปุ่มเล็กๆที่เรียกว่าปุ่มTESTแต่เซฟตี้เบรกเกอร์ไม่มีปุ่มTEST

45.RCCB(Residaul Current Circuit Breaker)
...เบรคเกอร์รุ่นนี้เหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้ในการป้องกันวงจรไฟฟ้าในอุตสาหกรรม อาคารสูง ตลอด จนบ้านเรือนที่อยู่อาศัย และยังสร้างความมั่นใจให้กับการทำงานดังต่อไปนี้-การป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจร-การป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน-การควบคุมให้อยู่ในระบบปิด-การป้องกันชีวิตมนุษย์จากการสัมผัสโดยตรง

46.RCD(Residaul Current Device)
... เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟดูด รุ่น PFIM และ PFDM ทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วเกินพิกัดที่กำหนด ด้ามปิดเปิด สีดำ มีปุ่มสีเหลืองสำหรับทดสอบการทำงาน มีแบบ 2 Pole และ 4 Pole ออกแบบมาตรฐาน IEC/EN 61008 ขนาดพิกัดไฟรั่ว 10 mA., 30 mA , 100 mA. , 300 mA. ให้เลือกใช้งาน

47.GFCL(Ground Fault Cirruit Interrupter)
... เป็นระบบที่มุ่งหมายเพื่อป้องกันบริภัณฑ์ไม่ให้เสียหายเนื่องจากกระแสรั่วลงดิน โดยทำให้เครื่องปลดวงจรตัดตัวนำที่ไม่ถูกต่อลงดินในวงจรที่กระแสรั่วลงดิน การป้องกันนี้ต้องมีระดับกระแสน้อยกว่าค่าที่อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินของวงจรแหล่งจ่ายไฟทำงาน
-เมื่อเกิดกระแสรั่วลงดินเกินค่าที่กำหนดไว้ เครื่องตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อกระแสรั่วลงดิน (Ground Fault Circuit Interrupter) ก็จะทำงานเปิดวงจรภายในเวลาที่กำหนด ในกรณีนี้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบก็จะรู้ว่าเกิดกระแสรั่วลงดินขึ้นในวงจรไฟฟ้า แต่ปัญหาที่พบบ่อย ๆ ก็คือว่าเกิดกระแสรั่วลงดินที่มีค่าน้อยจนเครื่องตัดวงจรไฟฟ้าไม่ทำงาน ก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาในระบบไฟฟ้า วิธีการที่เหมาะสมก็คือการบำรุงรักษาแบบ Preventive Maintenance โดยการตรวจหาจุดกำเนิดกระแสรั่วลงดิน เพื่อที่เจ้าหน้าที่รับผิดชอบจะได้แก้ไขความผิดพร่องเหล่านี้ให้หมดไป

48.RCBO(RCCB with Overload Protection)
...- เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟดูด พร้อมเซอร์กิตเบรกเกอร์ในตัว ทำหน้าที่ตัวงไฟฟ้า เมื่อเกิดไฟฟ้ารั่ว, กระแสลัดวงจร และเมื่อมีการใช้กระแสไฟฟ้าเกินพิกัดของเบรกเกอร์ ด้ามปิด/เปิด มีสีตามขนาดพิกัดของกระแสเบรกเกอร์ มีทั้งแบบ 1 Pole และ 2 Pole ออกแบบตามมาตรฐาน IEC/EN 61009

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น