วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553

คำศัพท์ที่เกียวข้องกับไฟฟ้า(บทที่11)

1.ตัวเหนี่ยวนำ(Inductor)
...ตัวเหนี่ยวนำเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง โดยมีการใช้งานกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป มีตั้งแต่ขนาดเล็กมาก ๆ ประมาณปลายนิ้วมือจนกระทั่งถึงขนาดใหญ่เท่าห้องปฏิบัติการ ลักษณะของตัวเหนี่ยวนำจะเป็นการนำเอาลวดตัวนำมาพันเรียงกันเป็นขดลวด อาจมีจำนวนรอบไม่กี่รอบจนกระทั่งถึงพันรอบแล้วแต่ค่าความเหนี่ยวนำที่ต้องการใช้งาน การพันขดลวดของตัวเหนี่ยวนำอาจพันบนแกนชนิดต่าง ๆ หรือเป็นแบบไม่มีแกน (แกนอากาศ) ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน

2.ความเหนี่ยวนำ(Inductance)
...การพันจำนวนรอบของตัวเหนี่ยวนำมีผลต่อความเหนี่ยวนำ (Inductance) ในตัวเหนี่ยวนำนั้น พันจำนวนรอบน้อยความเหนี่ยวนำน้อย พันจำนวนรอบมากความเหนี่ยวนำมาก จำนวนรอบยังมีผลต่อปริมาณสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นด้วย จำนวนรอบน้อย สนามแม่เหล็กเกิดน้อย จำนวนรอบมาก สนามแม่เหล็กเกิดมาก

3.ขดลวด(Coil)
...วัสดุที่ใช้ทำขดลวดหม้อแปลงโดยทั่วไปทำมาจากสายทองแดงเคลือบน้ำยาฉนวน มีขนาดและลักษณะลวดเป็นทรงกลม หรือแบนขึ้นอยู่กับขนาดของหม้อแปลง ลวดเส้นโตจะมีความสามารถในการจ่ายกระแสได้มากกว่าลวดเส้นเล็ก
หม้อแปลงขนาดใหญ่มักใช้ลวดถักแบบตีเกลียว เพื่อเพิ่มพื้นที่สายตัวนำให้มีทางเดินของกระแสไฟมากขึ้น สายตัวนำที่ใช้ พันขดลวดบนแกนเหล็กทั้งขดลวดปฐมภูมิและขดลวดทุติยภูมิอาจมีแทปแยก (Tap) เพื่อแบ่งขนาดแรงเคลื่อนไฟฟ้า (ในหม้อแปลงขนาดใหญ่จะใช้การเปลี่ยนแทปด้วยสวิตช์อัตโนมัติ)


4.เส้นแรงแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic Flux)
...ด้วยนิยามอย่างเป็นทางการแล้ว เส้นแรงแม่เหล็กไม่ได้เป็นปริมาณเวกเตอร์ แต่เป็นเวกเตอร์เสมือน เท่านั้น แม้ว่าภาพต่างๆ มักจะแสดงเส้นแรงแม่เหล็กด้วยลูกศร แต่เราไม่สามารถแปลความหมายลูกศรนั้นเป็นการเคลื่อนที่หรือการไหลของเส้นสนาม

5.สนามแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic Field)
...จะหมายถึงเส้นสมมุติที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงอาณาเขตและความเข้มของเส้นแรงที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุที่มีความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้า (เรียกว่า สนามไฟฟ้า) และที่เกิดขึ้นโดยรอบวัตถุที่มีกระแสไฟฟ้าไหล (เรียกว่า สนามแม่เหล็ก) ในกรณีกล่าวถึงทั้ง สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กพร้อมกันมักจะเรียกรวมว่า สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Field: EMF)หรือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

6.เฟอร์โรแมกเนติก(Ferromagnetic)
...

7.โช้ค(Choke)
...ช่วยในเรื่องการทรงตัวเป็นหลักครับ ช่วยในเรื่องความแข็งแรง(ประโยชน์มากเวลาจั๊ม) เปลี่ยนไซร์ยางเป็นขนาดดังกล่าวผลคือ มีความสะเทือนเพิ่มขึ้นครับ เข็มวัดความเร็วอ่อน

8.แกนอากาศ(Air Core)
...นอกจากนี้ยังใช้ขดลวดแกนอากาศกับงานในระบบที่ใช้ความถี่สูงโดยไม่ต้องการให้เส้นแรง แม่เหล็กมีการอิ่มตัวหรือการ สูญเสียเกิดขึ้นที่แกนเหล็ก

9.แกนเฟอร์ไรด์(Ferrite Core)
...แกนเฟอร์ไรท์เป็นวัสดุที่มีส่วนผสมของแม่เหล็กทำให้มีความเข้ม สนามแม่เหล็กมากกว่าเหล็กและมีความต้านทานสูง จึงช่วยลดการสูญเสียบนแกนเหล็ก หรือลดความร้อนจากการเกิดกระแสไหลวนที่ความถี่สูง

10.แกนผงเหล็กอัด(Powdered -Iron Core)
...ตัวเหนี่ยวนำแกนผงเหล็กอัด เป็นตัวเหนี่ยวนำที่แกนหรือฐานรองรับเส้นลวดทำด้วยผงเหล็กชนิดอัดแน่น โดยนำผงเหล็กผสมกับกาวอัดแน่นเป็นแท่ง ช่วยลดการสูญเสียสัญญาณจากกระแสไหลวน (Eddy Current) ลงได้ สัญญาณส่งผ่านตัวเหนี่ยวนำแกนผงเหล็กอัดได้สูงขึ้น เกิดการสูญเสียสัญญาณภายในตัวเหนี่ยวนำลดลง ใช้งานได้ดีในย่านความถี่สูงๆ มีความเหนี่ยวนำสูงแต่มีขนาดเล็ก ลักษณะตัวเหนี่ยวนำแกนผงเหล็กอัด

11.แกนทอรอยด์(Toroidal Core)
...แกนทอลอยด์มีลักษณะคล้ายวงแหวนทำมาจากโลหะผสมสารกึ่งตัวนำ-ซิลิกอน หม้อแปลงแกนทอลอยด์มีประสิทธิภาพ สูง (95 %) เพราะแกนทอลอยด์มีสภาพความนำแม่เหล็กสูง อีกทั้งยังไม่มีช่องรอยต่อเหมือนแกนเหล็กแบบ Core และแบบ Shell จึงช่วยลดการเกิดเสียงรบกวนได้ในขณะทำงาน

12.แกนเหล็กแผ่น(Laminated - Iron Core)
... แผ่นเหล็กที่ใช้ทำหม้อแปลงจะมีส่วนผสมของสารกึ่งตัวนำ-ซิลิกอนเพื่อรักษาความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดขึ้น รอบขดลวดไว้ แผ่นเหล็กแต่ละชั้นเป็นแผ่นเหล็กบางเรียงต่อกัน หลายชิ้นทำให้มีความต้านทานสูงและช่วยลดการสูญเสีย บนแกนเหล็กที่ส่งผลให้เกิดความร้อนหรือที่เรียกว่า กระแสไหลวนบนแกนเหล็กโดยทำแผ่นเหล็กให้เป็นแผ่นบางหลาย แผ่นเรียงซ้อนประกอบขึ้น เป็นแกนเหล็กของหม้อแปลง ซึ่งมีด้วยกันหลายรูปแบบเช่น แผ่นเหล็กแบบ Core และแบบ Shell

13.กระแสไหลวน(Eddy Current)
...ส่วนใหญ่กระแสที่เราเหนี่ยวนำขึ้นมา มักจะอธิบายกันที่ขดลวดตัวนำวงกลม แต่ที่จริงแล้วกระแสเหนี่ยวนำสามารถสร้างขึ้นในแผ่นตัวนำได้เลย โดยใช้หลักของฟาราเดย์ที่ว่าเมื่อมีการเปลี่ยนฟลักซ์ของสนามแม่เหล็ก ก็จะเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น และมักจะเกิดกับโลหะหรือตัวนำไฟฟ้าได้ดี เหตุผลก็เป็นเพราะความต้านทานของตัวนำค่อนข้างต่ำ ดังนั้นสามารถสร้างกระแสเหนี่ยวนำขึ้นได้ง่าย

14.ตัวกรองไฟ(Filter)
...มันอยู่อยู่ 3 จำพวก คือเครื่องคุมไฟ สำหรับทำให้กระแสไฟฟ้านิ่ง คงที่ ไม่วูบวาบ เครื่องกรองไฟ สำหรับทำให้กระแสไฟฟ้าสะอาดขึ้น กรองสัญญาณรบกวนออกไป ส่วน ups เข้าใจว่าเป็นเครื่องสำรองไฟ คือเผื่อฉุกเฉินเวลาไฟดับอ่ะคับ ส่วนมากก็ใช้กับคอมพิวเตอร์ จะได้ปิดเครื่องได้ทัน

15.ทางเข้า(Input)
...

16.ทางออก(Output)
...

17.ปฐมภูมิ(Primary)
...รับแรงเคลื่อนไฟฟ้า

18.ทุติยภูมิ(Secondary)
...แรงเคลื่อนไฟฟ้า

19.แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ(Induce Electro Motive Force)
...ปลายทั้งสองข้างของเส้นลวดตัวนำทำหน้าที่เสมือนเป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าเกิดเป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้า

20.หม้อแปลงไฟฟ้า(Transformer)
...เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เปลี่ยนระดับแรงดันให้สูงขึ้นหรือต่ำลงตามต้องการ ภายในประกอบด้วยขดลวด 2 ชุดคือ ขดลวดปฐมภูมิ ( Primary winding) และ ขดลวดทุติยภูมิ (Secondary winding) แต่สำหรับหม้อแปลงกำลัง ( Power Transformer) ขนาดใหญ่บางตัวอาจมีขดลวดที่สามเพิ่มขึ้นคือขด Tertiary winding ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าขด Primary และ Secondary และแรงดันที่แปลงออกมาจะมีค่าต่ำกว่าขด Secondary

21.หม้อแปลงเพิ่มแรงดัน(Step Up Tranformer)
... หม้อแปลงเพิ่มแรงดัน เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่ทำหน้าที่เพิ่มแรงดันไฟสลับที่ด้านส่งออกเอาต์พุต หรือขดทุติยภูมิมีค่าแรงดันมากกว่าค่าแรงดันที่ป้อนเข้ามา รูปแบบการพันขดลวดในหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดนี้ จำนวนรอบของขดลวดทางขดปฐมภูมิน้อยกว่าจำนวนรอบของขดลวดทางขดทุติยภูมิ ลักษณะหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดเพิ่มแรงดัน

22.หม้อแปลงลดแรงดัน(Step Down Tranformer)
...หม้อแปลงลดแรงดัน เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่ทำหนัาที่ลดแรงดันไฟสลับที่ส่งออกทางขดลวดทุติยภูมิ มีค่าแรงดันน้อยกว่าค่าแรงดันท่ป้อนเข้ามา รูปแบบการพันขดลวดในหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดนี้ จำนวนรอบของขดลวดทางขดปฐมภูมิมากกว่าจำนวนรอบของขดลวดทางขดทุติภูมิลักษณะหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดลดแรงดัน

23.หม้อแปลงกำลัง(Power Tranformer)
...หม้อแปลงกำลัง เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีลักษณะการพันขดลวดแบบหลายขดลวดรวมกันอยู่ในหม้อแปลงทางขดทุติภูมิ มีทั้งขดเพิ่มแรงดันและขดลดแรงดัน ลักษณะหม้อแปลงกำลัง

24.หม้อแปลงออโต้(Auto Tranformer)
...หม้อแปลงออโต เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีลักษณะการพันขดลวดทุกขดอยู่บนแกนเดียวกัน มีขดลวดพันออกมาใช้งานเพียวขดเดียว แยกชุดจ่ายแรงดันออกมาตามค่าที่ต้องการเป็นจุดๆ มีจุดต่อร่วมจุดเดียวกัน จุดใดเป็นจุดจ่ายแรงดันเข้าเรียกว่าขดปฐมภูมิ จุดใดเป็นจุดจ่ายแรงดันออกเรียกว่า ขดทุติภูมิ

25.หม้อแปลงทอรอยด์(Toroidal Tranformer)
...หม้อแปลงทอรอยต์ เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าแกนเหล็กแผ่นบางเคลือบฉนวนวางซ้อนกันในรูปวงแหวน การพันขดลวดสามารถพันให้เป็นหม้อแปลงไฟฟ้าลักษณะต่างๆ ได้ เช่น ชนิดลดแรงดัน ชนิดเพิ่มแรงดัน ชนิดกำลัง และชนิดออโต เป็นต้น ข้อดีของหม้อแปลงแบบนี้ คือ มีขนาดเล็กกะทัดรัดที่ให้ค่าความเหนี่ยวนำสูง มีการสูญเสียกำลังต่ำ นิยมใช้งานอย่างแพร่หลาย ลักษณะหม้อแปลงทอรอยต์

1 ความคิดเห็น: