1.วงจรตัวต้านทาน (Resistor Circuit)
...คือการต่อตัวต้านทานแต่ละตัวร่วมกัน โดยจัดในรูปวงจร สามารถจัดวงจรตัวต้านทานได้ 3 แบบ คือ วงจรอนุกรม วงจรขนาน และวงจรผสม วงจรตัวต้านทานแต่ละชนิดมีคุณสมบัติของวงจร
2. วงจรตัวต้านทานแบบอนุกรม (Series Resistor Circuit)
...เป็นการนำตัวต้านทานแต่ละตัวมาต่อเรียงลำดับกันไปชนิดหัวต่อท้ายเป็นลำดับไปเรื่อยๆ ลักษณะการต่อวงจร การต่อตัวต้านทานแบบนี้ ทำให้ค่าความต้านทานรวมของวงจรเพิ่มขึ้นตามจำนวนตัวต้านทานที่นำนำมาต่อเพิ่ม
3.วงจรตัวต้านทานแบบขนาน (Parallel Resistor Circuit)
...เป็นการนำตัวต้านทานแต่ละตัวมาต่อคร่อมขนานกันทุกตัว มีจุดต่อคร่อมร่วมกัน 2 จุด การต่อต้วต้านทานแบบนี้ ทำให้ค่าความต้านทานรวมของวงจรลดลง ได้ค่าความต้านทานรวมในวงจรน้อยกว่าค่าความต้านทานของตัวต้านทานตัวที่น้อยที่สุดในวงจร
4.วงจรตัวต้านทานแบบผสม (Compound Resistor Circuit)
...เป็นการต่อตัวต้านทานร่วมกันระหว่างการต่อแบบอนุกรมและการต่อแบบขนาน การต่อตัวต้านทานแบบผสมไม่มีมาตรฐานตายตัว เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการต่อวงจรที่ต้องการ การหาค่าความต้านทานรวมของวงจร ให้ใช้วิธีการต่อวงจรแบบอนุกรมและต่อวงจรแบบขนานร่วมกัน
5. วงจรตัวเก็บประจุ (Capaciter Circuit)
...คือการต่อตัวเก็บประจุแต่ละตัวร่วมกัน โดยจัดในรูปแบวงจร สามารถจัดวงจรตัวเก็บประจุได้ 3 แบบ คือวงจรอนุกรม วงจรขนาน และวงจรผสม วงจรตัวเก็บประจุแต่ละชนิดมีคุณสมบัติของวงจรแตกต่างกัน
6.วงจรตัวเก็บประจุแบบอนุกรม (Series Capacitor Circuit)
...เป็นการนำตัวเก็บประจุแต่ละตัวมาต่อเรียงลำดับกันไป ชนิดหัวต่อท้ายเป็นลำดับไปเรื่อยๆ ลักษณะการต่อวงจร การต่อตัวเก็บประจุแบบนี้ มีผลให้ฉนวนของตัวเก็บประจุมีความหนามากขึ้น แผ่นโลหะตัวนำ 2 แผ่นหัวท้ายของตัวเก็บประจุรวมห่างกัน มีผลให้ค่าความจุรวมของตัวเก็บประจุลดลง ค่าความจุรวมที่ได้มีค่าน้อยกว่าค่าความจุตัวที่น้อยที่สุดในวงจร
7.วงจรตัวเก็บประจุแบบขนาน (Parallel Capacitor Circuit)
...เป็นการนำตัวเก็บประจุแต่ละตัวมาต่อคร่อมขนานกันทุกตัว มีุจุดต่อร่วมกัน 2 จุด ลักษณะการต่อวงจร การต่อตัวเก็บประจุแบบนี้ เป็นการเพิ่มพื้นที่ของแผ่นโลหะตัวนำในตัวเก็บประจุรวมทำให้ค่าความจุของตัวเก็บประจุรวมเพิ่มขึ้น ค่าความจุรวมของวงจรหาได้จากผลบวกของค่าความจุในตัวเก็บประจุทุกตัวรวมกัน
8. วงจรตัวเก็บประจุแบบผสม (Compound Capacitor Circuit)
...เป็นการต่อตัวเก็บประจุร่วมกันระหว่างการต่อแบบอนุกรมและการต่อแบบขนาน การต่อตัวเก็บประจุแบบผสมไม่มีมาตรฐานแน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการต่อวงจรที่ต้องการ การหาค่าความจุรวมของวงจร ให้ใช้วิธีการต่อวงจรแบบอนุกรมและการต่อวงจรแบบขนานร่วมกัน
9.วงจรตัวเหนี่ยวนำ (Inductor Circuit)
...คือการต่อตัวเหนี่ยวนำแต่ละตัวร่วมกัน โดยจัดในรูปแบบวงจร สามารถจัดวงจรตัวเหนี่ยวนำได้ 3 แบบ คือวงจรอนุกรม วงจรขนาน และวงจรผสม วงจรตัวเหนี่ยวนำแต่ละชนิดมีคุณสมบัติของวงจรแตกต่างกัน
10. วงจรตัวเหนี่ยวนำแบบอนุกรม (Series Inductor Circuit)
...เป็นการนำตัวเหนี่ยวนำแต่ละตัวมาต่อเรียงลำดับกันไป ชนิดตัวต่อท้ายเป็นลำดับไปเรื่อยๆ การต่อเหนี่ยวนำแบบนี้ ทำให้ค่าความเหนี่ยวนำรวมเพิ่มขึ้นตามจำนวนตัวเหนี่ยวนำที่นำมาต่อเพิ่ม การหาค่าความเหนี่ยวนำรวมในวงจรแบบอนุกรม
11. วงจรตัวเหนี่ยวนำแบบขนาน (Parallel Inductor Circuit)
...เป็นการนำตัวเหนี่ยวนำแต่ละตัวมาต่อคร่อมขนานกันทุกตัว มีจุดต่อร่วมกัน 2 จุด ลักษณะการต่อวงจร การต่อตัวเหนี่ยวนำแบบนี้ ทำให้ค่าความเหนี่ยวนำรวมของวงจรลดลง ให้ค่าความเหนี่ยวนำรวมในวงจรน้อยกว่าค่าความเหนี่ยวของตัวเหนี่ยวนำตัวที่มีค่าน้อยสุดในวงจร การหาค่าความเหนี่ยวนำรวมแบบขนาน
12. วงจรตัวเหนี่ยวนำแบบผสม (Compound Inductor Circuit)
...เป็นการต่อตัวเหนี่ยวนำร่วมกันระหว่างการต่อแบบอนุกรมและการต่อแบบขนาน การต่อตัวเหนี่ยวนำแบบผสมไม่มีมาตรฐานแน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการต่อวงจรที่ต้องการ การหาค่าความเหนี่ยวนำรวมของวงจร ให้ใช้วิธีการต่อวงจรแบบอนุกรม และต่อวงจรแบบขนานร่วมกัน
13. แผ่นวงจรพิมพ์ (Printed Circuit Boards)
...หรือแผนปริ๊นต์ เป็นแผ่นพลาสติกที่ผิวด้านหนึ่งถูกเคลือบด้วยแผ่นทองแดงบาง เพื่อใช้ทำลายวงจรพิมพ์ (Printed Circuit) ทำให้เกิดเป็นวงจรต่างๆ ตามต้องการ
14.ลายวงจรพิมพ์(Printed Circuit )
...ลายวงจรมีส่วนสำคัญต่อการใช้งาน เพราะการเขียนลายวงจรจะต้องคำนึงถึงของลายวงจร ให้เหมาะสมกับขนาดของกระแสที่ไหลผ่าน ลักษณะการเชื่อมต่อต้องเหมาะสมสวยงาม ถูกต้องตามหลักการ ขนาดของลายวงจรต้องไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป การเข้าโค้งลายวงจรควรต่อเข้ากึ่งกลางจุด ไม่ควรผ่านของริมจุดต่อ หรือกรณีจำเป็นต้องผ่านขอบริมจุดต่อลายวงจรจะต้องสัมผัสจุดต่อให้มากที่สุด ลักษณะลายวงจรพิมพ์และจุดต่อที่ถูกและผิด
15.วงจรสคีมเมติก(Schematic Circuit)
...
16.ตะกั่วบัดกรี (Solder)
...คือวัสดุที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมประสานรอยต่อของสายไฟหรือขาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าด้วยกัน หรือต่ออุปกร์อิเล็กทรอนิกส์เข้ากับลายวงจรพิมพ์ ส่วนประกอบของตะกั่วบัดกรีประกอบด้วยดีบอก (Tin) และตะกั่ว (Lead) ซึ่งมีส่วนผสมของสารทั้งสองแตกต่างกัน ถูกกำหนดออกมาเป็นเปอร์เซ็น ค่าที่บอกไว้ค่าแรกเป็นดีบุกเสมอ เช่น 70/30 หมายถึง ส่วนผสมประกอบด้วยดีบุก 70% และตะกั่ว 30% บางครั้งอาจเรียกเฉพาะค่าดีเท่านั้นก็ได้ ดังนั้นส่วนผสม 70/30 อาจเรียกว่าตะกั่วบัดกรีชนิดดีบุก 70%
17.ดีบุก ( Tin)
...คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 50 และสัญลักษณ์คือ Sn (มาจากคำในภาษาลาตินว่า Stannum) ดีบุกเป็นโลหะที่ไม่ดี หลอมเหลวได้ง่าย ทนต่อการกัดกร่อน และถูกอ๊อกซิไดซ์ในอากาศได้ดี พบในโลหะผสมหลายชนิด ใช้ประโยชน์ในการเคลือบโลหะเพื่อป้องกันการกันกร่อน ดีบุกส่วนใหญ่สกัดได้จากแร่แคสสิเตอร์ไรต์ (cassiterite)
18.ตะกั่ว (Lead)
...เป็นธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 82 และสัญลักษณ์คือ Pb (ละติน: Plumbum) ตะกั่วเป็นธาตุโลหะ เนื้ออ่อนนุ่มสามารถยืดได้ เมื่อตัดใหม่ๆ จะมีสีขาวอมน้ำเงิน แต่เมื่อถูกกับอากาศสีจะเปลี่ยนเป็นสีเทา ตะกั่วเป็นโลหะหนักที่มีพิษ ใช้ทำวัสดุก่อสร้าง แบตเตอรี่ กระสุนปืน โลหะผสม
19.ฟลักซ์(Flux)
...จำนวนเส้นแรงแม่เหล็กที่ผ่านทะลุพื้นที่ผิวสมมติแผ่นหนึ่งในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กใช้สัญลักษณ์ f ในบริเวณที่มีผลักซ์แม่เหล็กหนาแน่นมาก เป็นบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กที่มีค่ามาก
20. หัวแร้ง (Soldering Iron)
...ที่ใช้งานทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นหัวแร้งไฟฟ้า ทำหน้าที่ให้ความร้อนออกมาโดยใช้ไฟฟ้าจ่ายผ่านส่วนที่ทำให้กำเนิดความร้อน ส่งผ่านผ่านความร้อนไปยังหัวบัดกรี ส่วนหัวบัดกรีนี้เองเป็นตัวส่งผ่านความร้อนไปยังชิ้นงาน จนชิ้นงานเกิดความร้อนพอที่จะหลอมละลายตะกั่วบัดกรีได้ การบัดกรีที่ถูกต้องนอกจากหัวแร้งต้องร้อนพอที่จะหลอมละลายตะกั่วบัดกรีได้แล้ว ชิ้นงานที่จะบัดกรีก็ต้องร้อนพอที่จะหลอมละลายตะกั่วบัดกรีได้ด้วย ถ้าชิ้นงานขนาดเล็กสามารถใช้หัวแร้งมีกำลังไฟฟ้าต่ำได้ ถ้าชิ้นงานขนาดใหญ่หังแร้งต้องมีกำลังไฟฟ้าสูงขึ้นตามไปด้วย มิเช่นนั้นอาจทำให้การบัดกรีไม่สมบูรณ์ได้
21.หัวแร้งปืน (Soldering Gun)
...มีรูปร่างคล้ายปืน เป็นหัวแร้งที่เหมาะสมกับการบัดกรีงานขนาดใหญ่ ให้ความร้อนสูง การบัดกรีทำได้รวดเร็ว ไม่เหมาะสมกับการบัดกรีงานขนาดเล็ก การบัดกรีต้องระมัดระวังเรื่องความร้อนจะแผ่นไปถึงอุปกรณ์หรือชิ้นงาน เพราะอาจทำให้อุปกรณ์หรือชิ้นงานชำรุดเสียหายได้ การใช้งานทุกครั้งต้องกดไกสสวิตช์ค้างไว้ก่อนการใช้งานประมาณ 5 วินาที เพื่อให้ปลายหัวแร้งร้อนมากพอก่อนทำการบัดกรี ปลายหัวแร้งทำด้วยทองแดง และทองแดงเคลือบเหล็ก เช่นเดียวกับหัวแร้งแช่ แต่มีรูปร่างแตกต่างกัน
22.เครื่องดูดตะกั่ว(Solder Sucker)
...
วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น