วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

คำศัพท์ที่เกียวข้องกับไฟฟ้า(บทที่9-10)

1.ความต้านทาน(Resistance)
...คือ หน่วยวัดปริมาณความต้านทาน
กระแสไฟฟ้าของวัตถุ วัตถุที่มีความต้านทานต่ำจะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ง่าย เรียกว่า ตัวนำไฟฟ้า ในขณะที่ฉนวนไฟฟ้ามีความต้านทานสูงมากและไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน
ค่าความต้านทานไฟฟ้า ใช้สัญลักษณ์ R มีหน่วยเป็น
โอห์ม (Ω) มีค่าเป็นส่วนกลับของ ความนำไฟฟ้า (Conductivity) หน่วยซีเมนส์
กฎของโอห์มเขียน ความสัมพันธ์ระหว่าง แรงดันไฟฟ้า (V) , กระแสไฟฟ้า (I) และความต้านทาน (R) ไว้ดังนี้: R = V / I จากการวัดกับวัสดุต่างๆ ที่สภาวะต่างๆ กัน มักปรากฏว่าความต้านทาน ไม่ขึ้นกับปริมาณกระแสไฟฟ้า หรือ แรงดันไฟฟ้า กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ มีค่าความต้านทานคงที่

2.ตัวนำ(Conducter)
...ตัวเหนี่ยวนำเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง โดยมีการใช้งานกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป มีตั้งแต่ขนาดเล็กมาก ๆ ประมาณปลายนิ้วมือจนกระทั่งถึงขนาดใหญ่เท่าห้องปฏิบัติการ ลักษณะของตัวเหนี่ยวนำจะเป็นการนำเอาลวดตัวนำมาพันเรียงกันเป็นขดลวด อาจมีจำนวนรอบไม่กี่รอบจนกระทั่งถึงพันรอบแล้วแต่ค่าความเหนี่ยวนำที่ต้องการใช้งาน การพันขดลวดของตัวเหนี่ยวนำอาจพันบนแกนชนิดต่าง ๆ หรือเป็นแบบไม่มีแกน (แกนอากาศ) ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน


3.ฉนวน(Insulator)
...ฉนวนคือวัสดุที่มีคุณสมบัติในการกีดกั้นหรือขัดขวางการไหลของกระแสไฟฟ้าหรือวัสดุที่กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลผ่านได้ได้แก่ ยาง ไฟเบอร์ พลาสติก ฯลฯ ฉนวนจะต้องสามารถป้องกันตัวนำไฟฟ้าจากความร้อนหรือของเหลวที่สามารถกัดกร่อนตัวนำไฟฟ้า และสามารถกันน้ำได้ดี ฉนวนที่ใช้หุ้มตัวนำไฟฟ้าต้องมีความต้านทานสูง ต้องไม่ถูกกรดหรือด่างกัดกร่อนได้ตั้งแต่อุณหภูมิ 0 ถึง 200 องศาฟาเรนไฮต์ และต้องไม่ดูดความชื้นในอากาศ ฉนวนที่ใช้หุ้มตัวนำไฟฟ้ามีอยู่หลายชนิด ได้แก่ แร่ใยหิน ยางทนความร้อนพลาสติก PVC ฉนวนที่นิยมใช้งานได้แก่
-ก. ฉนวนยาง ฉนวนยางที่ใช้หุ้มตัวนำไฟฟ้าและสายเคเบิลทำจากยางพารา 20 ถึง 40% ผสมกับแร่ธาตุอีกหลายชนิด เช่น ผงซัลเฟตของแมกนีเซียม สังกะสีออกไซด์ ฯลฯและมีกำมะถันปนอยู่ด้วยเล็กน้อย ใช้ทำสายไฟฟ้าแรงสูง
-ข. พลาสติก PVC เป็นฉนวนที่มีคุณสมบัติบิดงอได้ แต่ไม่ดีเท่ากับยาง ไม่มีปฏิกิริยากับออกซิเจนและน้ำมันต่าง ๆ ไม่มีปฏิกิริยากับกรดและด่าง ทนอุณหภูมิได้สูง จึงเป็นที่นิยมใช้งานกันมากในปัจจุบัน


4.ตัวต้านทาน(Resister)
...เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดสองขั้ว ที่สร้าง
ความต่างศักย์ทางไฟฟ้าขึ้นคร่อมขั้วทั้งสอง โดยมีสัดส่วนมากน้อยตามกระแสที่ไหลผ่าน อัตราส่วนระหว่างความต่างศักย์ และปริมาณกระแสไฟฟ้า ก็คือ ค่าความต้านทานทางไฟฟ้า หรือค่าความต้านทาน
หน่วยค่าความต้านทานไฟฟ้าตาม
ระบบเอสไอ คือ โอห์ม อุปกรณ์ที่มีความต้านทาน ค่า 1 โอห์ม หากมีความต่างศักย์ 1 โวลต์ไหลผ่าน จะให้กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ ซึ่งเท่ากับการไหลของประจุไฟฟ้า 1 คูลอมบ์ (ประมาณ 6.241506 × 1018 elementary charge) ต่อวินาที

5.โลหะ(Metallic)
...โลหะ คือ วัสดุที่ประกอบด้วย
ธาตุโลหะที่มีอิเล็กตรอนอิสระอยู่มากมาย นั่นคืออิเล็กตรอนเหล่านี้ไม่ได้เป็นของอะตอมใดอะตอมหนึ่งโดยเฉพาะ ทำให้มันมีคุณสมบัติพิเศษหลายประการ เช่น
-เป็นตัวนำ
ไฟฟ้าและความร้อนได้ดีมาก
-ไม่ยอมให้แสงผ่าน
-ผิวของโลหะที่ขัดเรียบจะเป็นมันวาว
-โลหะมีความแข็งแรงพอสมควรและสามารถแปรรูปได้จึงถูกใช้งานในด้านโครงสร้างอย่างกว้างขวาง

6.อโลหะ(Non-Metallic)
...คือ
ธาตุที่มีคุณสมบัติต่างจากโลหะและธาตุกึ่งโลหะ ในด้านการแตกตัวของไอออน (ionization) และการดึงดูดระหว่างอะตอม (bonding properties)
อโลหะทุกตัวจะมีประจุไฟฟ้าเป็นลบ (highly electronegative) โดยการรับ
อิเล็กตรอน (valence electrons) จากอะตอมของธาตุอื่น
อโลหะเป็น
อนุกรมเคมีในตารางธาตุ ประกอบด้วย
-ธาตุในกลุ่ม
แฮโลเจน
-ธาตุในกลุ่ม
ก๊าซมีตระกูล
-ธาตุต่อไปนี้
ไฮโดรเจน (hydrogen - H)
คาร์บอน (carbon - C)
ไนโตรเจน (nitrogen - N)
ออกซิเจน (oxygen - O)
ฟอสฟอรัส (phosphorus - P)
กำมะถัน (sulfur - S)
ซีลีเนียม (selenium - Se)
*โดยทั่วไป อโลหะมีสมบัติตรงข้ามกับโลหะ

7.ตัวต้านทานไวร์วาวด์(Wire-Wound Resister)
...เป็นตัวต้านทานที่มีโครงสร้างทำด้วยเส้นโลหะผสม 2 หรือ 3 ชนิด อันได้แก่ นิกเกิล-โครเมียม หรือ ทองแดง-นิกเกิล เพราะว่าเป็นโลหะผสมที่มีการเปลี่ยนแปลงความต้านทานเพียงเล็กน้อยขณะที่ตัวต้านทานมีความร้อนเกิดขึ้น เมื่อทำการพันเส้นลวดลงบนแท่งเซรามิกรูปทรงกระบอกจะได้ตัวต้านทานแบบเส้นลวด และที่ปลายทั้งสองข้างของเส้นลวด ความต้านทานจะต่อเข้ากับขาโลหะเพื่อการนำไปใช้งาน ส่วนที่ผิวของเส้นลวดความต้านทานจะถูกเคลือบด้วยน้ำยาเคลือบ ซีเมนต์ ปลอกแก้วหรือซิลิโคนเพื่อเป็นฉนวนไฟฟ้า และป้องกันไม่ให้เส้นลวดขาดง่ายเมื่อถูกขีดข่วนจากสิ่งภายนอกตัวต้านทานแบบไวร์วาวด์จะมีความต้านทานที่เที่ยงตรงและมีค่าผิดพลาดน้อยที่สุด แต่จะเป็นตัวต้านทานที่มีขนาดใหญ่ และมีอัตราทนกำลังไฟฟ้าได้สูงถึง 1,000 วัตต์ ส่วนมากค่าความต้านทานแบบไวร์วาวด์จะเขียนบอกไว้ที่ตัวของมันเอง การนำไปใช้งานนิยมใช้ในวงจรตัวแบ่งแรงดันไฟฟ้า เช่น วงจรภาคจ่ายไฟฟ้า หรือใช้ในวงจรเครื่องส่งวิทยุที่ใช้กำลังงานสูงและอื่นๆเป็นต้นค่าความต้านทานของตัวต้านทานชนิดไวร์วาวด์นี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของเส้นลวดที่ใช้พัน ถ้าใช้เส้นลวดเส้นใหญ่ความต้านทานมีค่าต่ำ ถ้าใช้ลวดเส้นเล็กความต้านทานมีค่าสูงขึ้น และขึ้นอยู่กับความยาวของลวดที่พัน ถ้าลวดมีความยาวน้อย ความต้านทานมีค่าต่ำ ถ้าลวดมีความยาวมากขึ้น ความต้านทานมีค่าสูงขึ้น

8.ตัวต้านทานฟิล์มโลหะ(Metal-Film Resister)
...เป็นตัวต้านทานประเภทโลหะอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้งานมากในปัจจุบัน โครงสร้างของตัวต้านทานชนิดนี้ประกอบด้วยแกนทรงกระบอกเล็กๆ ทำจาก เซรามิก เคลือบผิวเซรามิกด้วยโลหะบางๆพวกนิกเกิลหรือโครเมียม โดยเคลือบในสุญญากาศ การเคลือบบนแกนเซรามิกเป็นแบบพันรอบแกนแบบต่อเนื่องจากปลายด้านหนึ่งไปยังปลายอีกด้านหนึ่ง และมีโลหะครอบปลายทั้งสองต่อออกมาเป็นขาตัวต้านทาน ข้อดีของตัวต้านทานชนิดนี้คือ มีค่าความต้านทานผิดพลาดต่ำมากกว่า +_1% จนถึง +_0.001% เพราะใช้แสงเลเซอร์เจาะตัดเอาโลหะส่วนเกินออก และสร้างค่าความต้านทานให้มีค่าสูงมากขึ้นกว่าชนิดตัวต้านทานไวร์วาวด์ได้แต่มีราคาแพงขึ้น

9.กึ่งตัวนำ(Semiconductor)
...คือ วัสดุที่มีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้าอยู่ระหว่างตัวนำและฉนวน เป็นวัสดุที่ใช้ทำอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ มักมีตัวประกอบของ germanium, selenium, silicon วัสดุเนื้อแข็งผลึกพวกหนึ่งที่มีสมบัติเป็นตัวนำ หรือสื่อ
ไฟฟ้าก้ำกึ่งระหว่างโลหะกับอโลหะหรือฉนวน ความเป็นตัวนำไฟฟ้าขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และสิ่งไม่บริสุทธิ์ที่มีเจือปนอยู่ในวัสดุพวกนี้ ซึ่งอาจเป็นธาตุหรือสารประกอบก็มี เช่น ธาตุเจอร์เมเนียม ซิลิคอน ซีลีเนียม และตะกั่วเทลลูไรด์ เป็นต้น วัสดุกึ่งตัวนำพวกนี้มีความต้านทานไฟฟ้าลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะตรงข้ามกับโลหะทั้งปวง
ที่อุณหภูมิ ศูนย์ เคลวิน วัสดุพวกนี้จะไม่ยอมให้ไฟฟ้าไหลผ่านเลย เพราะเนื้อวัสดุเป็น
ผลึกโควาเลนต์ ซึ่งอิเล็กตรอนทั้งหลายจะถูกตรึงอยู่ในพันธะโควาเลนต์หมด (พันธะที่หยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม) แต่ในอุณหภูมิธรรมดา อิเล็กตรอนบางส่วนมีพลังงาน เนื่องจากความร้อนมากพอที่จะหลุดไปจากพันธะ ทำให้เกิดที่ว่างขึ้น อิเล็กตรอนที่หลุดออกมาเป็นสาเหตุให้สารกึ่งตัวนำ นำไฟฟ้าได้เมื่อมีมีสนามไฟฟ้ามาต่อเข้ากับสารนี้

10.ตัวต้านทานคาร์บอน(Carbon Resister)
...เป็นตัวต้านทานที่ทำมาจากผงคาร์บอนหรือผงแกรไฟต์ ผสมกับตัวประสานฟีนอลลิกอัดแน่นเป็นแท่งทรงกระบอก และที่ปลายทั้งสองข้างของแท่งคาร์บอนจะถูกยึดติดกับโลหะและต่อเส้นลวดออกมาเพื่อใช้เป็นขาต่อ ส่วนตัวแท่งคาร์บอนจะถูกเคลือบด้วยฉนวนไฟฟ้า ซึ่งค่าของความต้านทานจะขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์ของผงคาร์บอนในการผสมใช้งาน ความหนาแน่นเปลี่ยนแปลงความต้านทานก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ค่าความต้านทานที่ผลิตได้ตั้งแต่ค่าต่ำๆ เป็นเศษส่วนของโอห์มจนถึงเป็นล้านๆโอห์มขึ้นไป ( โอห์มเป็นหน่วยใช้บอกค่าความต้านทานของตัวต้านทาน ) ค่าทนกำลังไฟฟ้าของตัวต้านทานชนิดนี้มีค่าตั้งแต่ 1/8 วัตต์ ถึง 2 วัตต์โดยประมาณข้อเสียของตัวต้านทานชนิดนี้ คือ มีค่าความผิดพลาดสูง อุณหภูมิมีผลต่อความต้านทานนี้มาก และไม่สามารถนำตัวต้านทานชนิดนี้ไปใช้กับงานผ่านความถี่สูงๆได้ เพราะจะเกิดสัญญาณรบกวนต่อวงจร


11.ตัวตันทานฟิล์มคาร์บอน(Carbon-Flim Resister)
...เป็นตัวตัวต้านทานชนิดคาร์บอนอีกแบบหนึ่ง เป็นที่นิยมใช้งานในปัจจุบันมากกว่าแบบคาร์บอนเพราะมีขนาดเล็กกว่า ผลิตโดยการฉาบหมึกคาร์บอนลงบนแท่งแก้วหรือแท่งเซรามิก แล้วจึงนำไปเผาเพื่อให้เกิดแผ่นฟิล์มคาร์บอนขึ้นมา เมื่อได้แผ่นฟิล์มที่เคลือบอยู่บนแท่งเซรามิกแล้วมีโลหะครอบปลายทั้งสองของคาร์บอนต่อออกมาเป็นขาตัวต้านทาน เคลือบผิวนอกสุดด้วยพลาสติกอีกชั้นหนึ่ง ลักษณะตัวต้านทานฟิล์มคาร์บอน แสดงดังรูป 7ตัวต้านทานแบบฟิล์มคาร์บอน มีคุณสมบัติในการทำงานเหมือนกับตัวต้านทานคาร์บอน ข้อดีของตัวต้านทานชนิดนี้คือ ราคาที่ถูกกว่า มีข้อเสียคือ ไม่สามารถทนต่อแรงดันกระชากในช่วงเวลาสั้นๆ และมีค่าสัมประสิทธิ์ต่ออุณหภูมิที่ไม่ดี ช่วงพิสัยความต้านทานของตัวต้านทานแบบฟิล์มคาร์บอนจะมีค่าตั้งแต่ 10 โอห์ม ถึง 25 เมกกะโอห์ม มีค่าความผิดพลาดของความต้านทาน"5% และอัตราทนกำลังไฟฟ้าตั้งแต่ 0.1 ถึง 10 วัตต์

12.ตัวต้านทานวงจรรวม(Integrated - Circuit Resister)
...อาจเรียกว่าตัวต้านทานไอซี (IC Resistor ) เป็นตัวต้านทานที่ผลิตจากซิลิคอนในรูปของสารกึ่งตัวนำ สามารถ สร้างตัวต้านทานในขนาดเล็กๆรวมไว้ด้วยกันได้จำนวนมากตัวในโครงสร้างเดี่ยวหรือใน IC ตัวเดียวได้ จึงช่วยให้สะดวกในการนำไปใช้งานมากขึ้น การต่อขาของตัวต้านทาน อาจต่อขาแยกเฉพาะตัวต้านทานแต่ละตัวก็ได้ หรือต่อตัวต้านทานเป็นวงจรไว้ภายในตัว IC และต่อขาออกมาในตำแหน่งที่ต้องการก็ได้ ลักษณะตัวต้านทานวงจรรวม

13.ตัวต้านทานแบบคงที่(Fixed Resistor)
...ตัวต้านทานชนิดคงที่เป็นตัวต้านทานที่ผลิตขึ้นมามีค่าความต้านทานคงที่ตายตัว เปลี่ยนแปลงไม่ได้ สามารถสร้างให้มีค่าความต้านทานกว้างมาก ตั้งแต่ค่าต่ำเป็นเศษส่วนของโอห์มไปจนถึงค่าสูงสุดเป็นเมกกะโอห์มขึ้นไป ผลิตมาใช้งานได้ทั้งประเภทโลหะและประเภทอโลหะ โดยเรียกตามวัสดุที่นำมาใช้ผลิต เช่น ไวร์วาวด์ ฟิล์มโลหะ คาร์บอนและฟิล์มคาร์บอน เป็นต้น ค่าทนกำลังไฟฟ้ามีตั้งแต่ 1/16 วัตต์ ถึงหลายร้อยวัตต์


14.ตัวต้านทานแบบแบ่งค่า(Tapped Resister)
...ตัวต้านทานชนิดเลือกค่าได้ คือ ตัวต้านทานแบบไวร์วาวด์ชนิดหนึ่ง มีค่าความต้านทานคงที่ตายตัวเหมือนตัวต้านทานแบบคงที่ ในตัวต้านทานแบบคงที่นี้มีการแบ่งค่าตัวต้านทานออกเป็นสองค่าหรือสามค่าภายในตัวต้านทานเพียงตัวเดียว ดังนั้นจึงมีขาต่อออกมาใช้งานมากกว่า 2 ขา เช่น 3 ขา 4 ขา และ 5 ขา เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการเลือกใช้งาน

15.ตัวต้านทานแบบเปลี่ยนค่า(Adjustable Resistor)
...ตัวต้านทานชนิดเปลี่ยนแปรค่าได้ เป็นตัวต้านทานที่สามารถปรับเปลี่ยนความต้านทานได้ตลอดเวลาที่ต้องการ ตั้งแต่ค่าความต้านทานต่ำสุด ไปจนถึงความต้านทานสูงสุดของตัวมันเองได้อย่างต่อเนื่อง โดยการใช้แกนหมุนหรือเลื่อนแกน ดังนั้นจึงมีโครงสร้างเป็นรูปโค้งเกือบเป็นวงกลม (แบบแกนหมุน) หรืออาจเป็นแท่งยาว (แบบเลื่อนแกน) มีขาออกมาใช้งาน 3 ขา ที่ขากลางเป็นตัวปรับเลื่อนค่าไปมาได้ วัสดุที่นำมาใช้เป็นตัวต้นทานชนิดเปลี่ยนแปรค่าได้จะใช้วัสดุประเภทเดียวกันกับตัวต้นทานชนิดค่าคงที่ คือแบบคาร์บอน และแบบไวร์วาวด์ รูปร่างและสัญลักษณ์ของตัวต้านทานชนิดนี้

16.ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้(Variable Resister)
...ตัวต้านทานชนิดนี้เป็นตัวต้านทานแบบไวร์วาวด์อีกชนิดหนึ่งที่สามารถปรับเปลี่ยนค่าความต้นทานที่ต้องการใช้งานได้ โดยบนที่ตัวต้านทานชนิดนี้จะมีปลอกโลหะหลวมอยู่ และสามารถเลื่อนตำแหน่งเพื่อให้ได้ความต้านทานที่ต้องการ มีสกรูขันยึดปลอกโลหะให้สัมผัสแน่นกับเส้นลวดที่ตัวต้านทาน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเลื่อนเปลี่ยนตำแหน่ง การใช้งานของตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้ จะใช้ค่าความต้านทานเฉพาะค่าใดค่าหนึ่งที่ปรับไว้เท่านั้น รูปร่างและสัญลักษณ์ของตัวต้นทานแบบเปลี่ยนค่า

17.ตัวต้านทานแบบพิเศษ(special Resister)
... เป็นตัวต้านทานที่สร้างขึ้นมาใช้งานเฉพาะหน้าที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานได้ตามอุณหภูมิหรือความเข้มแสงที่มาตกกระทบตัวต้านทาน เช่น ฟิวส์รีซิสเตอร์ (Fuse Resistor) เทอร์มิสเตอร์ (Themistor) และแอลดีอาร์ (LDR;Light Dependent Resistor)เป็นต้น
-1. ฟิวส์รีซิสเตอร์ (Fuse Resistor) เป็นตัวต้านทานที่ใช้ทำหน้าที่แทนฟิวส์ เพื่อป้องกันความเสียหายของวงจรเมื่อมีการกระจายกระแสไหลผ่านวงจรมากเกินค่าที่กำหนดไว้ ซึ่งจะทำให้ตัวต้านทานขาดทันที โดยทั่วๆ ไปตัวจ้านทานชนิดนี้จะมีค่าประมาณ 0 – 200 โอห์ม
-2. เทอร์มิสเตอร์ หรือตัวต้านทานความร้อน(Themal Resistor)เป็นตัวต้านทานที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปค่าความต้านทานที่เปลี่ยนแปลงอาจไม่เป็นเชิงเส้น (Non – Linear) และแตกต่างกันตามชนิดของวัสดุที่นำมาใช้ผลิต โครงสร้างและส่วนประกอบภายในมักนำมาจากธาตุเยอรมันเนียมและซิลิคอน หรือโคบอลต์ นิกเกิล ทองแดง แพลทินัม เหล็ก และแมงกานีส เป็นต้น รูปร่างที่ผลิขึ้นมาใช้งานมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน เช่น รูปจาน แท่งทรงกระบอก ลูกประคำหรืออื่นๆ รูปร่างและสัญลักษณ์ของเทอร์มิสเตอร์ แสดงดังรูปที่13.16 คุณสมบัติของตัวเทอร์มิสเตอร์ที่ผลิตขึ้นมาใช้งานมี 2 ชนิด คือ ชนิด NTC และชนิด PTC
-3. แอลดีอาร์ (LDR) หรือ ตัวต้านทานพลังงานแสง (Photo Rs-sistor)เป็นตัวต้านทานที่สามารถเปลี่ยนสภาพการนำไฟฟ้าได้เมื่อมีความเข้มแสงมาตกกระทบตัวมัน คือ เมื่อแสงสว่างตกมากระทบน้อย LDR จะมีความต้านทานสูง และเมื่อแสงสว่างมาตกกระทบมาก LDR จะมีความต้านทานต่ำตัวต้านทานชนิดนี้จะทำมาจากวัสดุสารกึ่งตัวนำประเภทแคดเมียมซัลไฟด์ (CdS) หรือแคดเมียมซิลิไนด์ (CdSe) รูปร่างและสัญลักษณ์ของ LDR


18.เทอมีสเตอร์(Thermistor)
...เทอร์มิสเตอร์ ( Thermistor ) เป็นตัวต้านทานชนิดหนึ่งที่คาความต้านทานสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป โครงสร้างของเทอร์มิสเตอร์ไม่มีรอยต่อของสารกึ่งตัวนำต่อชนกัน แต่เป็นคุณสมบัติของเนื้อสารที่มีผลเปลี่ยนแปลงความต้านทานไป เมื่อุณหภูมิที่ตัวเนื้อสารนั้นเปลี่ยนแปลง สารที่นำมาใช้ในการผลิตเทอร์มิสเตอร์มีหลายชนิด ปกติจะใช้พวกสนิมโลหะที่อาจเป็นชนิดเดียวหรือชนิดผสมก็ได้ สารที่ใช้ เช่น โคบอลต์ นิกเกิล แมงกานีส ทองแดง เหล็ก และสตรอนเทียม เป็นต้น รูปร่างของเทอร์มิสเตอร์ที่ผลิตขึ้นมาใช้งานมีหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับการนำไปใช้งาน รูปร่างของเทอร์มิสเตอร์ที่สร้างขึ้นมาใช้งาน เช่น แบบหยดน้ำ แบบโปรบแก้ว แบบแผ่นกลม แบบวงแหวน และแบบทรงกระบอก เป็นต้น รูปร่างลักษณะของเทอร์มิสเตอร์

19.ตัวต้านทานแบบเปลี่ยนค่าตามแสง(LDR->Light Dependent Resistor)
...ตัวต้านทานเปลี่ยนค่าตามแสง ( Light Dependent Resistor ) ใช้อักษรตัวย่อ LDR มีชื่อเรียกหลายชื่อด้วยกัน เช่น เซลล์ที่เป็นสื่อไฟฟ้าตามแสง ( Photo Conductive Cell ) หรืออุปกรณ์เปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานตามแสง ( Photoresistive Device ) เป็นอุปกรณ์ประเภทสารกึ่งตัวนำชนิด 2 ขั้วต่อ ที่ค่าความต้านทานระหว่างขั้วต่อทั้งสอง สามารถเปลี่ยนค่าได้ตามความเข้มของแสงที่มาตกกระทบ โครงสร้างและสัญลักษณ์ของตัวต้านทานเปลี่ยนค่าตามแสง

20.โอห์ม(Ohm)
...โอห์ม (
อังกฤษ: ohm) (สัญลักษณ์ : Ω) เป็นหน่วยเอสไอ (SI) ของค่าอิมพีแดนซ์ทางไฟฟ้า ในกรณีของกระแสสลับ หรือค่าความต้านทานไฟฟ้า ในกรณีของกระแสตรง ตั้งชื่อตามจอร์จ โอห์ม นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน

21.มิลลิโอห์ม(Milliohm)

...สิบยกกำลังลบสาม -> mΩ

22.กิโลโอห์ม(Killohm)
...สิบยกกำลังสาม -> kΩ


23.เมกโอห์ม(Megohm)
...สิบยกกำลังหก -> MΩ


24.ประจุไฟฟ้า(Electric Charge)
... เป็นคุณสมบัติพื้นฐานถาวรหนึ่งของ
อนุภาคซึ่งเล็กกว่าอะตอม (subatomic particle) เป็นคุณสมบัติที่กำหนดปฏิกิริยาแม่เหล็กไฟฟ้า สสารที่มีประจุไฟฟ้านั้นจะสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ในขณะเดียวกันก็จะได้รับผลกระทบจากสนามด้วยเช่นกัน ปฏิกิริยาตอบสนองระหว่างประจุ และ สนาม เป็นหนึ่งในสี่ ของแรงพื้นฐาน เรียกว่า แรงแม่เหล็กไฟฟ้า

25.ประจุบวก(Positive Charge)
...ประจุบวกที่มีขนาดเล็กที่สุดคือ โปรตอน มีประจุ +1.6 x 10-19 C มีมวล 1.67 x 10-27 kg


26.ประจุลบ(Negative Charge)
...ประจุลบที่มีขนาดเล็กที่สุดคือ อิเลคตรอน มีประจุ -1.6 x 10-19 C มีมวล 9.1 x 10-31 kg

27.ศักย์ไฟฟ้า(Electric Potential)
...ศักย์ไฟฟ้า หรือ เรียกว่าศักดาไฟฟ้า คือระดับของพลังงานศักย์ไฟฟ้า ณ จุดใดๆ ในสนามไฟฟ้า จากรูป ศักย์ไฟฟ้าที่ A สูงกว่าศักย์ไฟฟ้าที่ B เพราะว่าพลังงานศักย์ไฟฟ้าที่ A สูงกว่าที่ B ศักย์ไฟฟ้ามี 2 ชนิด คือ ศักย์ไฟฟ้าบวก เป็นศักย์ของจุดที่อยู่ในสนามของประจุบวก และศักย์ไฟฟ้าลบ เป็นศักย์ของจุดที่อยู่ในสนามของประจุลบ ศักย์ไฟฟ้าจะมีค่ามากที่สุดที่ประจุต้นกำเนิดสนาม และมีค่าน้อยลง เมื่อห่างออกไป จนกระทั่งเป็นศูนย์ที่ ระยะอนันต์ (infinity) ในการวัดศักย์ไฟฟ้า ณ จุดใดๆ วัดจากจำนวนพลังงานศักย์ไฟฟ้า ที่เกิดจากการเคลื่อนประจุทดสอบ +1 หน่วย ไปยังจุดนั้น ดังนั้น จึงให้นิยามของศักย์ไฟฟ้าได้ว่า
ศักย์ไฟฟ้า ณ จุดใดๆ ในสนามไฟฟ้า คือ พลังงานนี้สิ้นเปลืองไปในการเคลื่อนประจุ ทดสอบ +1 หน่วยประจุจาก infinity มายังจุดนั้น หรือจากจุดนั้นไปยัง infinity ศักย์ไฟฟ้ามีหน่วยเป็นโวลต์

28.ศักย์บวก(Positive Potential)
...หมายถึง การมีประจุมากกว่าประจุลบ

29.ศักย์ลบ(Negative Potential)
...หมายถึง การมีประจุลบมากกว่าประจุบวก


30.เส้นแรง(Line of Force)
...เรากำหนด เพื่อความสะดวกในการศักษา ไม่มีปรากฏอยู่จริงๆ โดยกำหนดเป็นหลักให้เข้าใจตรงกันว่า เมื่อ วางประจุไฟฟ้าบวกอิสระ ลงในสนามไฟฟ้า ถ้าประจุไฟฟ้าบวกอิสระนั้น สามารถเคลื่อนที่ไปได้ แนวทางที่ประจุไฟฟ้าบวกอิสระนี้จะเคลื่อนที่ไป กำหนด ว่าเป็นเส้นแรงไฟฟ้า และทิศทางของเส้นสัมผัส ซึ่งสัมผัสแรงไฟฟ้าที่จุดใดๆ ก็คือ ทิศทางของสนามไฟฟ้า ณ จุดนั้น

31.ตัวเก็บประจุ(Capacitor)
...เป็น
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ทำหน้าที่เก็บพลังงานในสนามไฟฟ้า ที่สร้างขึ้นระหว่างคู่ฉนวน โดยมีค่าประจุไฟฟ้าเท่ากัน แต่มีชนิดของประจุตรงข้ามกัน บางครั้งเรียกตัวเก็บประจุนี้ว่า คอนเดนเซอร์ (condenser) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานสำคัญในงานอิเล็กทรอนิกส์ และพบได้แทบทุกวงจร

32.แผ่นตัวนำ(Conductive Plate)
...สนามไฟฟ้าที่ชี้ออกจาก +Q เส้นลูกศรบาง คือ สนามไฟฟ้าที่ชี้เข้าประจุ –Q , ที่ด้านนอกแผ่นตัวนำทั้งสองสนามไฟฟ้าจะหักล้างกันหมด เหลือเฉพาะระหว่างแผ่นตัวนำทั้งสอง


33.ไดอิเล็กตริก(Dielectric)
...เป็นสารที่ไม่นำไฟฟ้าหรือฉนวนเพื่อเปลี่ยนแปลงค่าความจุ เมื่อนำสารไดอิเล็กตริกใส่ระหว่างแผ่นตัวนำจะทำให้ค่าความจุเพิ่มขึ้นเป็น เท่า โดยค่า นี้เรียกว่าค่าคงที่ไดอิเล็กตริก (dielectric constant) พิจารณาแผ่นตัวนำแบบขนานซึ่งมีสุญญากาศกั้นระหว่างตัวนำ

34.การเก็บประจุ(Charge)
...เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่รู้จักทั่วไปว่าสามารถเก็บประจุได้ บางทีเรียกว่า คาปาซิเตอร์ ใช้สัญลักษณ์ย่อว่า C มีหน่วยเป็น ฟารัด (F)


35.การคายประจุ(Discharge)
...ตัวเก็บประจุที่ถูกประจุแล้ว ถ้าเรายังไม่นำขั้วตัวเก็บประจุมาต่อกัน (ดังในรูป ก)อิเล็กตรอนก็ยังคงอยู่ที่แผ่นเพลต แต่ถ้ามีการครบวงจร ระหว่างแผ่นเพลตทั้งสองเมื่อไร อิเล็กตรอนก็จะวิ่งจากแผ่นเพลตทางด้านลบ ไปครบวงจรที่แผ่นเพลตบวกทันที เราเรียกเหตุการณ์นี้ว่า "การคายประจุ"

36.ความจุ(Capacitance)
...-1.สมบัติของสารตัวนำและสารไดอิเล็กทริกที่ยอมให้มีการสะสามประจุไฟฟ้าเมื่อเกิดความต่างศักดิ์ ค่าทีได้จะขึ้นอยู่กับสมบัติทางไฟฟ้าของสารไดอิเล็กทริก ความต่างศักย์ และความถี่ที่ป้อนให้
-2.สมบัติของระบบตัวนำและฉนวนที่อนุญาตให้มีการเก็บประจุเมื่อมีความต่างศักย์เกิดขึ้นระหว่างตัวนำ สัญลักษณ์ C มีหน่วยเป็นฟารัด (farads, F)

37.คงที่(Constant)
...ค่าคงที่คือการกำหนดตัวแปรที่มีค่าไม่เปลี่ยนแปลง ตลอด ซึ่งแบ่งเป็น 2 แบบ คือ
-1. ค่าคงที่แบบ User Defined เป็นค่าคงที่ที่เรากำหนดเอง ใช้เฉพาะแอพพลิเคชั่นของเรา โดยใช้คำสั่ง Constant ในการประกาศค่า มีรูปแบบดังนี้ Constant ชื่อค่าคงที่ As ชนิดข้อมูล = ค่าคงที่นั้น ตัวอย่าง Constant Pi As Double = 3.141578
-2. ค่าคงที่แบบ Pre – Defined เป็นค่าคงที่ที่ Visual Basic กำหนดไว้แล้ว เราสามารถเรียกใช้ได้ทันที เช่น vbOkOnly , vbInformation , MsgBox

38.ตัวเก็บประจุชนิดกระดาษ(Paper Capacitor)
...ตัวเก็บประจุชนิดกระดาษจะมีค่าความจะไม่สูงมากนัก ซึ่งจะเขียนบอกไว้ที่ข้างๆ ตัวเก็บประจุ คืออยู่ในพิสัยจาก 10 pF ถึง 10mF อัตราทนไฟสูงประมาณ 150 โวลต์ จนถึงหลายพันโวลต์ โดยมากนิยมใช้ในวงจรจ่ายกำลังไฟสูง


39.ตัวเก็บประจุชนิดไมก้า (Mica Capacitor)
...ตัวเก็บประจุชนิดไมก้า เป็นตัวเก็บประจุที่ใช้แผ่นไมก้าเป็นฉนวนไดอิเล็กตริก ส่วนมากตัวเก็บประจุชนิดนี้จะถูกทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมเพราะแผ่นไมก้าจะมีคุณสมบัติที่แข็งกรอบ โครงสร้างของมันจะประกอบด้วยแผ่นเพลตโลหะบางๆ อาจใช้หลายๆ แผ่นวางสลับซ้อนกัน แต่จะต้องคั่นด้วยฉนวนไมก้า ดังแสดงในรูป ซึ่งตัวเก็บประจุจะถูกหุ้มห่อด้วยฉนวนจำนวนเมกาไลท์ เพื่อป้องกันการชำรุดสึกหรอ

40.ตัวเก็บประจุชนิดเซรามิก(Ceramic Capacitor)
...ตัวเก็บประจุชนิดเซรามิคจะมีรูปร่างแบบแผ่นกลม (Disc) และแบบรูปทรงกระบอก (Tubular) ซึ่งจะมีค่าความจุอยู่ในพิสัยจาก 1.5 pF ถึง 0.1 mF อัตราทนแรงไฟประมาณ 500 โวลต์

41.ตัวเก็บประจุชนิดฟิล์มพลาสติก(Plastic Film Capacitor)
...ตัวเก็บประจุชนิดพลาสติก แต่จะใช้ไดอิเล็กตริกที่เป็นแผ่นฟิล์มที่ทำมาจากโพลีเอสเตอร (Polyester) ไมลาร์ (Mylar) โพลีสไตรีน (Polystyrene) และอื่นๆ โดยนำมาคั่นระหว่างแผ่นเพลตทั้งสองแผ่นแล้วม้วนพับให้มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก

42.ตัวเก็บประจุชนิดแทนทาลัม(Tantalum Capacitor)
...ตัวเก็บประจุชนิดแทนทาลัม เป็นตัวเก็บประจุที่มีขนาดเล็กแต่มีค่าความจุสูง โครงสร้างของตัวเก็บประจุชนิดแทนทาลัม ประกอบด้วยแผ่นโลหะบางของแทนทาลัม เคลือบแผ่นโลหะออกไซด์ (Tantalum Oxide) และเคลือบด้วยสารอิเล็กโตรไลต์เพื่อคั่นกลางแผ่นโลหะแทนทาลัมอีกชั้น ขาลวดตัวนำถูกต่อออกมาจากแผ่นโลหะแทนทาลัม ผิวด้านนอกสุดของตัวเก็บประจุถูกเคลือบด้วยสารประเภทพลาสติก ข้อดีของตัวเก็บประจุชนิดแทนทาลัม คือ ทนทานต่อการใช้งาน ทนต่ออุณหภูมิและความชื้น ไม่เกิดกระแสรั่วไหลขณะนำไปใช้งาน แต่มีอัตราทนแรงดันต่ำ


43.ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโตรไลติก(Electrolytic Capacitor)
...ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กโทรลิติก เป็นตัวเก็บประจุที่ใช้น้ำยาอิเล็กโทรไลท์เป็นแผ่นข้างหนึ่งแทนโลหะ และอีกแผ่นหนึ่งเป็นแผ่นโลหะมีเยื่อบางๆ ที่เรียกว่า "ฟิล์ม" (Film) หุ้มอยู่ เยื่อบางๆ นี้คือ ไดอิเล็กตริก หรือแผ่นกั้น

44.กระแสรั่วไหล(Leakage Current)
... คือการที่จุด 2 จุด ในวงจรไฟฟ้า หรือส่วนของวงจรไฟฟ้าซึ่งมีศักดาไฟฟ้าต่างกัน (มีแรงดันไฟฟ้าต่างกัน) มาแตะหรือสัมผัสกัน หรือมีตัวนำซึ่งมีค่าความต้านทานต่ำ ๆ มาสัมผัสกันระหว่าง 2 จุดนั้นทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลระหว่าง 2 จุดนั้นจำนวนมาก (เกิดการถ่ายเทพลังงานกัน) เรียกว่าเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรขึ้น


45.ตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้(Variable Capacitor)
...ชื่อของตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้ก็บอกกันชัดๆ แล้วนะครับว่า สามารถปรับค่าความจุของตัวเก็บประจุได้ ด้วยการ หมุนแกนของตัวเก็บประจุ ค่าความจุก็จะเปลี่ยนไปตามมุมที่หมุนด้วย โดยมากที่พบเห็นกันบ่อยๆ เขาใช้ตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้ ในวงจรเลือกคลื่นวิทยุทั่วๆ ไป

46.สเตเตอร์(Stator)
... สเตเตอร์(Stator) หรือเรียกว่าโครงสร้างสนามแม่เหล็กซึ่งประกอบด้วยแผ่นเหล็กบางๆแน่มีร่องสำเร็จไว้ใส่ขดลวดเรียกวาช่องสลอต(slot) อัดเป็นปึกแผ่น อยู่ภายในกรอบโครง(Frame) ซึ่งเฟรมนั้น จะทำมาจากเหล็กหล่อ(Cast iron) หรือเหล็กเหนียว(Steel) ที่สเตเตอร์ของสปลิทเฟสมอเตอร์จะมีขดลวดพันอยู่ 2ชุด คือขดรันหรือขดเมน(Running Winding หรือ Main Winding) พันด้วยลวดเส้นใหญ่จำนวนรอบมาก ขดลวดรันนี้จะมีไฟฟ้าไหลผ่านอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มสตาร์ทหรือทำงานปกติ ขดลวดชุดที่สอง สำหรับเริ่มหมุนหรือขดสตาร์ต(Starting winding)พันด้วยลวดเส้นเล็กและจำนวนรอบน้อยกว่าขดรันขดลวดสตาร์ท จะต่ออนุกรมอยู่กับสวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางแล้วจึงนำไปต่อขนานกับขดรัน

47.โรเตอร์(Rotor)
...โรเตอร์ทำด้วยแผ่นเหล็กบางๆ(Laminated)อัดซ้อนกันเป็นแกนและมีเพลาร้อยทะลุเหล็กบางๆเพื่อยึดให้แน่นรอบโรเตอร์นี้จะมีร่องไปตามทางยาวในร่องนี้จะมีทองแดงหรืออลูมิเนียมเส้นโตๆฝังอยู่โดยรอบปลายของทองแดงหรืออลูมิเนียมนี้จะเชื่อมติดอยู่กับวงแหวนทองแดงหรืออลูมิเนียม ซึ่งมีลักษณะคล้ายกรงกระรอกจึงเรียกชื่อว่าโรเตอร์กรงกระรอก(Squirrel cagerotor)


48.แก็ง(Gang)
...

49.ทริมเมอร์(Trimmer)
...ตัวเก็บประจุแบบทริมเมอร์ สามารถแยกออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ชนิด คือ แบบหลายรอบ(multitum) แบบรอบเดียว (single turn) และแบบกดอัด (compression type) ตัวเก็บประจุแบบหลายรอบ ประกอบด้วย ไดอิเล็กตริกที่เป็นแก้ว ควอตซ์แซฟไฟร์ พลาสติก หรืออากาศ ในขณะที่แบบรอบเดียวใช้เซรามิก พลาสติก หรืออากาศเป็นไดอิเล็กตริกส่วนแบบกดอัด จะใช้ไมก้าเป็นไดอิเล็กตริก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น